รอน พอล
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โรนัลด์ เออร์เนสต์ "รอน" พอล เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2478 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาจากเลค แจ็คสัน รัฐเท็กซัส เป็นแพทย์ และเป็นผู้สมัครชิงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาถึง 3 ครั้ง ในนามตัวแทนของพรรคเสรีนิยม ปี 1988 และของพรรคริพับลิกัน (สหรัฐอเมริกา) ปี 2008 และ 2012 รอน พอลเกิดที่เพนซิลเวเนีย เริ่มเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยดู๊ค หลังจากจบการศึกษาในปี 1961 เขาได้เป็นแพทย์ทางด้านสูตินารีเวช จากนั้นได้มาเป็นศัลยแพทย์ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา และได้ปฏิบัติหน้าที่ในสงครามเวียดนามอีกด้วย ต่อมาได้หันเข้าสู่วงการการเมืองและได้เป็นสมาชิสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาจากรัฐเท็กซัสในปี 1976–1977, 1979–1985 และ 1997 จนถึงปัจจุบัน
รอน พอลเป็นนักอนุรักษนิยม นักรัฐธรรมนูญ และนักเสรีนิยม (Libertarian) เขาเป็นนักวิจารณ์ที่พูดอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศและการเงินของชาวอเมริกัน รวมถึงระบบอุตสาหกรรมทางการทหารและธนาคารกลาง มุมมองเสรีนิยม (Libertarianism) ของเขาเป็นที่รู้จักกันอย่างดีและมักจะแตกต่างจากพรรคของตัวเองเในบางกรณี
นโยบายต่างประเทศหลักของพอลคือไม่แทรกแซง เขากล่าวว่าอเมริกาไม่ควรเข้าไปแทรกแซงการทหาร การเงินหรือยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศอื่นๆ แต่เสนอให้ยังคงสัมพันธภาพในเรื่องการค้า การท่องเที่ยว การสื่อสารและการเจรจาต่อรองกับประเทศอื่นๆไว้[1] เขาต่อต้านสงครามอิรัก[2]แต่เห็นด้วยกับการส่งกองกำลังไปปรามปรามผู้ก่อการร้ายในอัฟฟานิสถาน[3]เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการตอบโต้การก่อการร้ายในวันที่ 11 กันยายน 2001 เขาอยากจะให้สหรัฐอเมริกาลดบทบาทในนาโตและสหประชาชาติเนื่องจากเล็งเห็นว่าองค์กรเหล่านั้นละเมิดต่ออธิปไตยของสหรัฐ
ในทางการเงินพอลมีนโยบายไม่เก็บภาษีเพิ่ม[4] สนับสนุนการลดหรือยกเลิกการเก็บภาษีเงินได้[5] โดยให้รัฐบาลใช้จ่ายเงินที่ได้จากภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิต ลดการใช้จ่ายของรัฐบาลด้วยการปิดหน่วยงานของรัฐบาลกลางที่ไม่จำเป็น เขาสนับสนุนนโยบาย Hard Money แต่ในขณะเดียวกันกล่าวว่าจะไม่กลับไปใช้มาตรฐานทองคำแต่จะให้ออกกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ทำให้รัฐบาลจำต้องใช้ทองหรือแร่เงิน ในการชำระหนี้ ซึ่งการออกกฎหมายนี้จะยับยั้งพฤติกรรมของรัฐบาลที่ใช้จ่ายอย่างไม่ระวังและคอยมาเร่งให้ธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve) พิมพ์เงินเพิ่ม[6] ซึ่งเขาเชื่อว่านี่เป็นสาเหตุหลักของการทำให้เกิดเงินเฟ้อและด้วยเหตุผลนี้เขาจึงไม่สนับสนุนธนาคารกลางของสหรัฐ
นอกจากนั้นพอลสนับสนุนให้เลิกสงครามกับยาเสพย์ติดเนื่องจากเชื่อว่ากฎหมายยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพให้คนเลิกใช้ยา กฎหมายยาเสพติดทำให้เกิดอาชญากรรมและแนะนำให้พิจารณาว่ายาเสพติดเป็นปัญหาทางการแพทย์ เขากล่าวว่านักโทษคดียาเสพติดหลายคนไม่ได้จำคุกจากพฤติกรรมรุนแรงแต่จากการเป็นผู้เสพ เราควรจะถือว่าคนเหล่านี้เป็นผู้ป่วยติดยาแทนที่จะเป็นอาชญากร การบังคับให้มีบทลงโทษขั้นต่ำอย่างไร้เหตุผลได้ก่อให้เกิดโทษอย่างมหัน ขณะนี้มีผู้กระทำผิดคดียาเสพติดที่ไม่ใช้ความรุนแรงซึ่งต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตแต่เราไม่มีห้องขังพอให้กับนักโทษคดีข่มขืนและฆาตกร เขากล่าว[7]
สำหรับการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีของรอน พอลในปี 2012 นั้น เขาเป็นผู้สมัครที่มีคะแนนนำในหลายๆสตรอว์โพลล์ แม้ว่าจะได้คะแนนต่ำกว่าในหลายๆโพลล์ทางโทรศัพท์ มีผู้ที่นิยมตัวเขาในอินเทอร์เน็ตค่อนข้างมากเลยทีเดียว โดยในเว็บสำหรับค้นหาและ Youtube นั้นเขากลายเป็นผู้สมัครที่มีการค้นชื่อมากที่สุด ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีของเขาในปี 2008 ผู้สนับสนุนจำนวนมากของพอลกล่าวหาว่าสื่อกระแสหลักไม่ยอมนำเสนอข่าวของพอล[8] ข้อกล่าวหาที่คล้ายกันนี้ได้เกิดขึ้นในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2012 เช่นเดียวกัน[9] คอลัมนิสของหนังสือพิมพ์การเมืองโพลิติโควโรเจอร์ ไซม่อนตั้งข้อสังเกตในขณะให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Reliable Sources ของ CNN ว่าพอลได้รับการเสนอข่าวน้อยกว่านาง มิเชล บัคแมน แม้จะมีคะแนนนิยมใกล้เคียงเธอในเอมส์สตรอว์โพลล์[10] ภายหลังไซมอนได้ตั้งข้อสังเกตอีกครั้งในหนังสือพิมพ์การเมืองโพลิติโควว่าสื่อนำเสนอพอลอย่างไม่เป็นธรรม[11] โครงการความเป็นเลิศของสื่อสารมวลชนของศูนย์การวิจัยพิวได้ให้ข้อสรุปในเดือนสิงหาคม 2011 ว่าพอลได้รับการนำเสนอข่าวจากสื่อสารมวลชนน้อยกว่าผู้สมัครชิงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาปี 2012 คนอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญ[12] ในเดือนมกราคมปี 2012 นิตยสารแอตแลนติกอ้างผลการศึกษาของพิวว่าแม้โพลสำรวจของพอลจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เขาเสียส่วนแบ่งจากการนำเสนอข่าวของสื่อจาก 34% ในปลายธันวาคม 2011 เหลือเพียงประมาณ 3% ในช่วงกลางเดือนมกราคม 2012 พวกเขายังตั้งข้อสังเกตเพิ่มอีกว่าการนำเสนอข่าวในเชิงบวกเกี่ยวกับพอลลดลงอย่างชัดเจน ในขณะที่การนำเสนอข่าวในเชิงลบเพิ่มขึ้นเล็กน้อย[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lewrockwell.com (2007-03-16)
- ↑ "Paul, Ron (2002-10-08). "Statement Opposing the use of Military Force against Iraq". Congressional Record. U.S. House of Representatives". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-09-30.
- ↑ ""Key Vote (How all members voted): Authorization for Use of Military Force"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-04. สืบค้นเมื่อ 2007-11-04.
- ↑ Rep. Ron Paul Signs Presidential Taxpayer Protection Pledge
- ↑ "Paul, Ron (2003-01-30). "End the Income Tax – Pass the Liberty Amendment"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-28. สืบค้นเมื่อ 2012-05-13.
- ↑ "Contrary to what you may have heard, Ron Paul does not want return to the gold standard. Freedom Jackson (libertarian) Friday, November 16, 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2012-05-12.
- ↑ "A Republic, If You Can Keep It. Dr. Ron Paul U.S. Representative from Texas Address to the U.S. House of Representatives delivered on the Floor of the House January 31 - February 2, 2000". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-11. สืบค้นเมื่อ 2012-05-12.
- ↑ "Ostrowski, James (1/26/2008). "Media Urged not to Ignore Ron Paul". Political Class Dismissed". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-01. สืบค้นเมื่อ 2012-05-13.
- ↑ Hagey, Keach (August 15, 2011). "Ron Paul supporters decry media neglect". Politico. Retrieved August 19, 2011.
- ↑ "Politico and CNN say Ron Paul can't win, and that they will ignore him". CNN. Retrieved August 19, 2011
- ↑ Simon, Roger (August 15, 2011). "Ron Paul remains media poison". Politico. Retrieved August 19, 2011.
- ↑ "Sartor, Tricia (August 17, 2011). "Are the Media Ignoring Ron Paul". Project for Excellence in Journalism. Pew Research Center. Retrieved August 19, 2011". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-03. สืบค้นเมื่อ 2012-05-13.
- ↑ "Hudson, John (26 January 2012). "The Ron Paul Media Blackout Is Back On". theatlanticwire.com. The Atlantic. Retrieved 27 January 2012". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-28. สืบค้นเมื่อ 2012-05-13.