ธงชาติบาร์เบโดส
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
The Broken Trident (ธงสามง่ามหัก) | |
การใช้ | ธงชาติ และ ธงเรือพลเรือน |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 |
ลักษณะ | ธงสามสีแบ่งตามแนวตั้ง เป็นแถบสีน้ำเงิน-ทอง-น้ำเงิน กลางธงมีรูปสามง่าม |
ออกแบบโดย | แกรนท์ลี ดับเบิลยู. เพรสค็อด (Grantley W. Prescod) |
การใช้ | ธงนาวี |
สัดส่วนธง | 1:2 |
ประกาศใช้ | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 |
ลักษณะ | ธงพื้นขาวกางเขนแดง มีภาพธงชาติที่มุมธงบนด้านคันธง |
ธงชาติบาร์เบโดส เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 อันเป็นวันประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร ลักษณะสำคัญของธงนี้ประกอบด้วยแถบสีแนวตั้ง 3 แถบ เรียงเป็นแถบสีน้ำเงินเข้ม 2 แถบ ขนาบแถบสีทอง กลางแถบสีเหลืองมีรูปสามง่ามสีดำ ผู้ออกแบบธงชาติบาร์เบโดสคือ นายแกรนท์ลี ดับเบิลยู. เพรสค็อด (Grantley W. Prescod) โดยแบบธงของเขาเป็นแบบที่ชนะเลิศจากแบบธง 1,029 แบบที่มีการส่งเข้าประกวดแบบธงชาติ ซึ่งจัดโดยรัฐบาลบาร์เบโดส
ระดับของสีที่ใช้ในธงชาติ กำหนดตามรหัสสีมาตรฐานบริเตน (British standard colour code) ไว้ดังนี้
- สีน้ำเงิน (Ultramarine) -- BCC148
- สีทอง --BS0/002.
สีน้ำเงินในธงชาติ หมายถึงท้องฟ้าและมหาสมุทร ส่วนสีทองหมายถึงผืนทรายบนประเทศบาร์เบโดส
สัญลักษณ์ที่กลางธงนั้นคือรูปหัวสามง่าม ซึ่งเป็นอาวุธของเทพเนปจูน เทพเจ้าแห่งท้องทะเลตามตำนานกรีกโบราณ รูปหัวสามง่ามนี้เป็นที่รู้จักทั่วไปในชื่อ "สามง่ามหัก" (broken trident) เนื่องจากว่าในตราแผ่นดินสมัยที่บาร์เบโดสยังเป็นอาณานิคมนั้น ได้แสดงไว้ด้วยภาพสามง่ามมีด้าม ภาพสามง่ามหักหรือสามง่ามไม่มีด้ามนี้จึงมีความหมายว่า ประเทศบาร์เบโดสเป็นอิสระจากการปกครองของสหราชอาณาจักรแล้ว ปลายของสามง่ามนั้นแทนความหมายถึงอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ส่วนตามระบอบประชาธิปไตย อันได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ธงชาติบาร์เบโดส ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
- ธงอาณานิคมบาร์เบโดส ที่ Flags of the World (อังกฤษ)