ลง
หน้าตา
ภาษาไทย
[แก้ไข]รากศัพท์
[แก้ไข]สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *n̩.loŋᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩃᩫ᩠ᨦ (ล็ง), ภาษาลาว ລົງ (ล็ง), ภาษาไทลื้อ ᦟᦳᧂ (ลุง), ภาษาไทดำ ꪶꪩꪉ (โลง), ภาษาไทใหญ่ လူင်း (ลู๊ง), ภาษาไทใต้คง ᥘᥨᥒᥰ (โล๊ง), ภาษาอาหม 𑜎𑜤𑜂𑜫 (ลุง์), ภาษาจ้วง roengz, ภาษาจ้วงใต้ loengz/noengz
การออกเสียง
[แก้ไข]การแบ่งพยางค์ | ลง | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | long |
ราชบัณฑิตยสภา | long | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /loŋ˧/(สัมผัส) |
คำกริยา
[แก้ไข]ลง (คำอาการนาม การลง)
- ไปสู่เบื้องต่ำหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น
- น้ำลง
- เครื่องบินลง
- ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ
- ลงดิน
- ลงบันได
- ลงเรือ
- เอาเครื่องมือจับสัตว์น้ำวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์น้ำ
- ลงข่าย
- ลงลอบ
- ลงอวน
- ลงเบ็ด
- จด
- ลงบัญชี
- ทำพิธีจารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์
- ลงเลขลงยันต์
- ลงนะหน้าทอง
- ลงกระหม่อม
- ยอม
- ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่
- ตีพิมพ์ออกเผยแพร่
- เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง
- ลงแจ้งความ
- ตกลงปลงใจแล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่
- ลงได้ทำเป็นไม่ทิ้ง
- ลงสู้แล้วไม่ถอย
- ปลูก
- ลงมะพร้าว
- ลงลิ้นจี่
- ลด
- ราคาทองลง
- ค่าเงินดอลลาร์ลง
- ตก
- น้ำค้างลง
- ฝนลง
- หมอกลง
- เฆี่ยน
- ลงไม้
- เอาหวายลงหลัง
- ท้องเดิน
- ทั้งลงทั้งราก
- (ภาษาปาก, การคอมพิวเตอร์) ติดตั้ง (โปรแกรม)
คำกริยาวิเศษณ์
[แก้ไข]ลง