ประเทศเยเมน
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สาธารณรัฐเยเมน ٱلْجُمْهُورِيَّةُ ٱلْيَمَنِيَّةُ (อาหรับ) al-Jumhūriyyatu l-Yamaniyyatu (ทางการ) al-Jumhūriyyah l-Yamaniyyah (ไม่ทางการ) | |
---|---|
สถานะ | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ซานา [n 1] 15°20′54″N 44°12′23″E / 15.34833°N 44.20639°E |
เมืองหลวงพลัดถิ่น | รียาด (การบริหารของประธานาธิบดี) |
ภาษาหลัก และภาษาของชาติ | ภาษาอาหรับ[2] |
กลุ่มชาติพันธุ์ (2000)[3] | |
ศาสนา (2020),[4] ดูเพิ่มเติม ศาสนาในเยเมน | |
เดมะนิม | Yemeni Yemenite |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว โดย สาธารณรัฐ แบบชั่วคราว |
Rashad al-Alimi (โต้แย้ง) [n 2] | |
Ahmad Awad bin Mubarak (โต้แย้ง)[n 3] | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | สภาชูระ |
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
การสถาปนา | |
• สถาปนาราชอาณาจักรมุตาวัคคิไลต์เยเมนa | 30 ตุลาคม ค.ศ. 1918 |
26 กันยายน ค.ศ. 1962 | |
• เยเมนใต้ได้รับเอกราชb | 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1967 |
22 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 | |
16 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 | |
16 กันยายน ค.ศ. 2014 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 555,000[a] ตารางกิโลเมตร (214,000 ตารางไมล์) (อันดับที่ 49) |
น้อยมาก | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2023 ประมาณ | 34,449,825[6] (อันดับที่ 48) |
65.0 ต่อตารางกิโลเมตร (168.3 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 152) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2023 (ประมาณ) |
• รวม | 69.963 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 109) |
• ต่อหัว | 2,053 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 180) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2023 (ประมาณ) |
• รวม | 21.045 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 123) |
• ต่อหัว | 617 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 184) |
จีนี (ค.ศ. 2014) | 36.7[8] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2022) | 0.424[9] ต่ำ · อันดับที่ 186 |
สกุลเงิน | เรียลเยเมน (YER) |
เขตเวลา | UTC+3 (AST) |
ขับรถด้าน | ขวามือ[10] |
รหัสโทรศัพท์ | +967 |
รหัส ISO 3166 | YE |
โดเมนบนสุด | .ye, اليمن. |
เยเมน (อังกฤษ: Yemen;/ˈjɛmən/ ( ฟังเสียง); อาหรับ: ٱلْيَمَنْ, อักษรโรมัน: al-Yaman) หรือ สาธารณรัฐเยเมน[b] เป็น รัฐเอกราช ตั้งอยู่ในเขตเอเชียตะวันตกเฉียงใต้[11] ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ คาบสมุทรอาหรับ, มีชายแดนทางเหนือติดกับ ซาอุดีอาระเบีย, ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับโอมาน, ทางใต้ติดกับ มหาสมุทรอินเดีย, แบ่งปันพรมแดนทางทะเลกับประเทศเอริเทรีย, ประเทศจิบูตี และ ประเทศโซมาเลีย ข้าม จะงอยแอฟริกา ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 528,000 ตารางกิโลเมตร (204,000 ตารางไมล์)[12] มีแนวชายฝั่งประมาณ 2,000 กิโลเมตร (1,200 ไมล์) เยเมนเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสองบนคาบสมุทรอาหรับ[13] ซานา เป็นเมืองหลวงตามรัฐธรรมนูญและเมืองที่ใหญ่ที่สุด ประชากรเยเมนโดยประมาณอยู่ที่ 34.7 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับ มุสลิม[14] เป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ, สหประชาชาติ, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และองค์การความร่วมมืออิสลาม
ด้วยทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เยเมนเป็นจุดศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมต่างๆ มานานกว่า 7,000 ปี ชาวซาบา ได้ก่อตั้งอาณาจักรการค้าที่รุ่งเรือง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของเอธิโอเปีย และเอริเทรียสมัยใหม่ด้วย[15][16][17] หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 275 อาณาจักรฮิมยัร ได้เข้ามาแทนที่ ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเยเมนในปัจจุบัน และได้รับอิทธิพลอย่างมากจากศาสนายูดาย[18] ศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในเยเมนราวศตวรรษที่ 4 ต่อมาในศตวรรษที่ 7 ศาสนาอิสลามได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว กองทหารเยเมนมีบทบาทสำคัญในช่วงแรกของการพิชิตดินแดนเพื่อขยายอาณาจักรอิสลาม[19] ราชวงศ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 9 ถึง 16 [20] ในช่วงศตวรรษที่ 19 ประเทศถูกแบ่งระหว่างจักรวรรดิออตโตมันและอังกฤษ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ราชอาณาจักรมุตาวัคคิไลต์เยเมนได้ถูกสถาปนาขึ้น ซึ่งในปี ค.ศ. 1962 ได้กลายเป็นสาธารณรัฐอาหรับเยเมน (เยเมนเหนือ) ภายหลังการรัฐประหาร ในปี ค.ศ. 1967 บริติชเอเดนในอารักขากลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมน (เยเมนใต้) ซึ่งเป็นรัฐสังคมนิยมอย่างเป็นทางการแห่งแรกและแห่งเดียวในโลกอาหรับ ในปี ค.ศ. 1990 รัฐทั้งสองของเยเมนได้รวมตัวกันเพื่อก่อตั้งสาธารณรัฐเยเมนสมัยใหม่ (อัล-จุมฮูรียาห์ อัล-ยามานียาห์) โดยมีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกจนกระทั่งเขาลาออกในปี ค.ศ. 2012 หลังกระแสอาหรับสปริง[21][22]
ตั้งแต่ปี 2011 เยเมนเผชิญวิกฤตทางการเมือง รัฐบาลเผชิญการประท้วงบนท้องถนนจากประชาชน เนื่องจากปัญหาความยากจน ว่างงาน การทุจริต และแผนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของซาเลห์[23] สถานการณ์เลวร้ายลงจนถึงปี 2015 ประเทศเข้าสู่สงครามกลางเมือง มีหลายฝ่ายที่ต้องการช่วงชิงอำนาจปกครอง ฝ่ายต่างๆเหล่านี้ ได้แก่ คณะรัฐบาลที่ได้รับการรับรองจากประชาคมโลก นำโดยสภาประธานาธิบดี[1] (Presidential Leadership Council), คณะกรรมการการเมืองสูงสุดของกลุ่มฮูษี (Houthi movement's Supreme Political Council) และ คณะกรรมการบริหารฝ่ายใต้ (Southern Transitional Council) ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงและมีการแทรกแซงจากต่างชาติหลายประเทศ นำไปสู่วิกฤตด้านมนุษยธรรมที่รุนแรง[24][25][26][27][28][29]
เยเมนถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดของโลก[30] เนื่องจากเผชิญปัญหาและอุปสรรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน[31] นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาความยากจนรุนแรงที่สุดในแถบ ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ[32] ในปี 2019 องค์การสหประชาชาติรายงานว่าเยเมนมีจำนวนผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นประมาณ 24 ล้านคน หรือเกือบ 75% ของประชากรทั้งหมด[33] เยเมนติดอันดับประเทศเปราะบางที่สุดในดัชนีความเปราะบาง (Fragile States Index) และอยู่ในอันดับสองที่เลวร้ายที่สุดในดัชนีความหิวโหยโลก (Global Hunger Index) รองเพียงสาธารณรัฐแอฟริกากลางเท่านั้น[34] นอกจากนี้ เยเมนยังมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) ต่ำที่สุดในบรรดประเทศนอกทวีปแอฟริกาอีกด้วย
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]คำว่า ยัมนัต (Yamnat) ปรากฎครั้งแรกในจารึกอาระเบียใต้โบราณ (Old South Arabian inscriptions) โดยใช้เป็นบรรดาศักดิ์ของกษัตริย์องค์หนึ่งในอาณาจักรฮิมยัรที่สอง (second Himyarite Kingdom) พระนามว่า ชัมมาร์ ยาห์ริช (Shammar Yahri'sh) คาดว่าคำนี้ น่าจะหมายถึงแนวชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับ (Arabian Peninsula) และแนวชายฝั่งด้านใต้ ระหว่างเมืองเอเดน (Aden) กับฮาดรามอุต (Hadhramaut)[35][36]ประวัติศาสตร์เยเมนรวมอาณาเขตที่ใหญ่กว่าประเทศปัจจุบันมาก โดยทอดยาวตั้งแต่ทางตอนเหนือของ 'Asir ทางตะวันตกเฉียงใต้ของซาอุดีอาระเบียไปจนถึง Dhofar ทางตอนใต้ของโอมาน[37][38]
ศัพท์มูลวิทยาคำหนึ่งมาจากเยเมนจากคำว่า ymnt ซึ่งแปลว่า "ทางใต้ [ของคาบสมุทรอาหรับ]" อย่างแท้จริง และมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องดินแดนทางขวา (𐩺𐩣𐩬)[39] แหล่งข้อมูลอื่นๆ อ้างว่าเยเมนเกี่ยวข้องกับคำว่า "yamn" หรือ "yumn" ซึ่งหมายถึง "ความสุข" เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีความอุดมสมบูรณ์ ตรงกันข้ามกับดินแดนแห้งแล้งในพื้นที่ส่วนใหญ่ของอาระเบีย[40][41] ชาวโรมันเรียกมันว่า อาราเบีย เฟลิกซ์ ("มีความสุข" หรือ "โชคดี" อาระเบีย") ตรงข้ามกับ อาราเบีย เดเซิร์ตา ("อาระเบียร้าง") นักเขียนภาษาละตินและกรีกเรียกเยเมนโบราณว่า "อินเดีย" ซึ่งเกิดขึ้นจากชาวเปอร์เซียที่เรียกเยเมนโบราณว่า ชาวอะบิสซิเนียนที่พวกเขามาติดต่อด้วยในอาระเบียใต้โดยใช้ชื่อคนผิวดำที่อาศัยอยู่ข้าง ๆ[42][43]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เยเมนดำรงอยู่ตรงทางแยกทางอารยธรรมมาเป็นเวลากว่า 7,000 ปีแล้ว ประเทศนี้เป็นที่ตั้งของบุคคลสำคัญ เช่น พระราชินีแห่งเชบา ซึ่งนำของขวัญมาถวายกษัตริย์ซาโลมอน เป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วที่แห่งนี้เป็นผู้ผลิตกาแฟหลักที่ส่งออกไปยังท่าเรือโมคา นับตั้งแต่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในศตวรรษที่ 7 เยเมนก็กลายเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อิสลาม และสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ยังคงอยู่มาจนถึงยุคปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
[แก้]เยเมน มีเส้นทางเดินเรือทางทะเลที่ยาวนาน เชื่อมระหว่างอารยธรรมตะวันออกและตะวันตก ทำให้เยเมนเป็นจุดศูนย์กลางทางวัฒนธรรมมายาวนาน โดยมีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการค้าขาย บริเวณชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับ ตั้งแต่ยุคแรกๆ ราว 5,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช[44] บนเทือกเขาทางภาคเหนือของเยเมน ก็ปรากฏชุมชนขนาดใหญ่ซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่ในยุคนั้นแล้ว อาณาจักรซาบาอันเกิดขึ้นอย่างน้อยในช่วงศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราช[45] อาณาจักรหลักสี่แห่งหรือสมาพันธ์ชนเผ่าในอาระเบียตอนใต้ ได้แก่ ซาบา ฮัดราเมาต์ กอตาบัน และมาอิน
ซาบา (อาหรับ: سَـبَـأ)[46][47] คิดว่าเป็นชีบาตามพระคัมภีร์และเป็นสหพันธ์ที่โดดเด่นที่สุด[48] ผู้ปกครองชาวซาบาใช้ชื่อ มุคาร์ริบ ซึ่งโดยทั่วไปคิดว่าหมายถึง การรวมเป็นหนึ่งเดียว[49] หรือ พระภิกษุกษัตริย์[50] หรือหัวหน้าสมาพันธ์อาณาจักรอาระเบียใต้ กษัตริย์แห่งกษัตริย์[51] บทบาทของมูคาร์ริบคือการนำชนเผ่าต่าง ๆ มาอยู่ใต้อาณาจักรและเป็นนายเหนือพวกเขาทั้งหมด[52] ชาวซาบาสร้างเขื่อนใหญ่แห่งมาริบประมาณ 940 ปีก่อนคริสตกาล[53] เขื่อนถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมฉับพลันตามฤดูกาลที่ไหลลงมาตามหุบเขา
เมื่อถึงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช Qataban, Hadhramaut และ Ma'in เป็นอิสระจาก Saba และตั้งถิ่นฐานในเวทีเยเมน การปกครองแบบมีเนียนแผ่ขยายไปจนถึงเดดาน[54] บนเทือกเขาทางภาคเหนือของเยเมน มีชุมชนขนาดใหญ่ซึ่งถือเป็นเมืองใหญ่ในยุคนั้นแล้ว ตั้งแต่ราว 5,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โดยมีเมือง บารัก (Baraqish) เป็นศูนย์กลาง หลังจากอาณาจักร คัตตบัน (Qataban) ล่มสลายในปี 50 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวซาบา (Sabaeans) ก็กลับมายึดครอง เมืองแมอืน (Ma'in) ได้อีกครั้ง และในช่วงเวลาที่กองทัพโรมันยกทัพเข้าสู่ อาณาจักรอาหรับฟีลิกซ์ (Arabia Felix) เมื่อ 25 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาวซาเบียนก็กลับมามีอำนาจเหนือสุดในดินแดนอาหรับใต้ อีกครั้งหนึ่ง[55] เอลิอุส กัลลุส (Aelius Gallus) ได้รับคำสั่งให้นำกำลังทหารเพื่อสร้างอำนาจปกครองของโรมันเหนือชาวซาบา[56]
ชาวโรมันมีความรู้ทางภูมิศาสตร์ที่คลุมเครือและขัดแย้งกันเกี่ยวกับอาระเบียเฟลิกซ์ (Arabia Felix) กองทัพโรมันจำนวน 10,000 นายพ่ายแพ้ต่อมาริบ[57] ความสัมพันธ์ใกล้ชิดของสตราโบ (Strabo) กับ เอลิอุส กัลลุส (Aelius Gallus) ทำให้เขาพยายามหาข้อแก้ตัวให้กับความพ่ายแพ้ของเพื่อนในงานเขียนของเขา ชาวโรมันใช้เวลาหกเดือนในการเดินทางไปถึงมาริบ (Marib) และ 60 วันเพื่อกลับไปที่อียิปต์ ชาวโรมันตำหนิผู้นำนาบาเทียน (Nabataean) และประหารชีวิตเขาในข้อหาทรยศ[58] ยังไม่พบการกล่าวถึงโดยตรงในจารึกการเดินทางของโรมันของชาวซาบา
หลังจากการรุกรานของโรมัน (อาจเร็วกว่านั้น) ประเทศก็ตกอยู่ในความสับสนวุ่นวาย และแบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ ฮัมดาน (Hamdan) และฮิมยาร์ (Himyar) อ้างสิทธิ์ในการเป็นกษัตริย์ โดยรับตำแหน่งเป็นกษัตริย์แห่งเชบา (Sheba) และดู เรย์ดาน (Dhu Raydan)[59] ดู เรย์ดาน (Dhu Raydan) หรือก็คือ ชาวฮิมยัร เป็นพันธมิตรกับ อักซุม (Aksum) ในเอธิโอเปียเพื่อต่อต้านชาวซาบา เอล ชาริห์ ยะห์ดิบ (El Sharih Yahdhib) หัวหน้าเผ่า บากิล (Bakil) และเป็นทั้งกษัตริย์แห่งอาณาจักรซาบา (Saba) และ ดู่เรย์ดาน (Dhu Raydan) ได้ทำการรณรงค์ทางทหารประสบความสำเร็จต่อฮิมยัร และ อาณาจักรฮาเบช (Habashat) ซึ่งก็คือ อาณาจักรแอคซัม (Aksum) นั่นเอง เอล ชาริห์ ภูมิใจในชัยชนะจากการรบ และได้เพิ่มคำว่า ยะห์ดิบ (Yahdhib) ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้ปราบปราม" ต่อท้ายชื่อของตนเอง นอกจากนี้ เขายังมีวิธีการประหารศัตรูที่โหดเหี้ยมด้วยการหั่นศพเป็นชิ้น ๆ[60] ในรัชสมัยของเอล ชาริห์ เมืองซานา (Sana'a) เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากเขาได้สร้าง พระราชวังฆุมดาน (Ghumdan Palace) เป็นที่ประทับ
ชาวฮิมยัร (Himyarite) ได้เข้ายึดเมืองซานา (Sana'a) จากฮัมดาน (Hamdan) ประมาณ ค.ศ. 100 [61]ชนเผ่าฮัชดี (Hashdi) กบฏต่อพวกเขาและยึดเมืองซานา (Sana'a) คืนมาได้ช่วง ค.ศ. 180[62] ชัมมาร์ ยาห์ริช (Shammar Yahri'sh) สามารถพิชิต ฮาดรามอุต (Hadhramaut) , นัจราน (Najran) และ ติฮาฟัง (Tihamah) ได้สำเร็จภายในปี ค.ศ. 275 นำไปสู่การรวมเยเมนเป็นหนึ่งเดียวและเสริมความแข็งแกร่งให้กับอาณาจักรฮิมยัร (Himyarite) [63][64] ชาวฮิมยัรปฏิเสธลัทธิพหุเทวนิยม และปฏิบัติตามรูปแบบที่ยินยอมของลัทธิเอกเทวนิยมที่เรียกว่าเราะห์มาน (Rahmanan)[65]
ในปี 354 จักรพรรดิแห่งโรมัน คอนสแตนเชียสที่ 2 ได้ส่งสถานทูตที่นำโดยธีโอฟิลอส ชาวอินเดีย (Theophilos the Indian) เพื่อเปลี่ยนชาวฮิมยัร มานับถือศาสนาคริสต์[66] ฟิโลสตอร์จิอุส (Philostorgius) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก บันทึกว่า มีชาวยิวในพื้นที่ต่อต้านคณะทูต อย่างไรก็ตาม มีการค้นพบจารึกหลายชิ้นในภาษาฮีบรู (Hebrew) และ ภาษาซาเบียน (Sabaean) ซึ่งยกย่องเชื้อพระวงศ์ผู้ปกครองในแง่ของศาสนายิว โดยมีความว่า "...ให้ความช่วยเหลือและเสริมพลังแก่ชนชาติอิสราเอล"[67]
ตามความเชื่อของชาวอิสลาม กษัตริย์อัสอาดผู้บริสุทธิ์ (As'ad the Perfect) เคยยกทัพไปช่วยเหลือชาวยิวใน ยัษริบ (Yathrib)[68] จากจารึกระบุว่า อาบู คาริบ อัสอาด (Abu Kariba As'ad) เคยนำกองทัพไปรบที่ภาคกลางของคาบสมุทรอาหรับ หรือ นัจด์ (Najd) เพื่อสนับสนุน อาณาจักรคินดา (Kingdom of Kinda) ประเทศราชต่อต้าน ลัคนมิด (Lakhmids)[69] อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยอันยาวนานของเขา ไม่พบหลักฐานอ้างอิงโดยตรงถึงศาสนายิวหรือ เมืองยัษริบ อาบู คาริบ สิ้นพระชนม์เมื่อปี 445 หลังครองราชย์เกือบ 50 ปี[70] ในปี 515 อาณาจักรฮิมยัร เกิดความขัดแย้งภายในรุนแรงตามแนวเส้นแบ่งทางศาสนา ความขัดแย้งอันรุนแรงระหว่างกลุ่มต่างๆ ปูทางให้อาณาจักรแอคซัม (Aksumite) เข้าแทรกแซง กษัตริย์องค์สุดท้ายของฮิมยาริต มาอดีคาริบ ยาฟัวร์ (Ma'adikarib Ya'fur) ได้รับการสนับสนุนจากอาณาจักรแอคซัม ต่อสู้กับคู่แข่งชาวยิว มาอดีคาริบ นับถือศาสนาคริสต์ และยกทัพไปรบกับ ลัคนมิด (Lakhmids) ทางใต้ของอิรัก โดยได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรอาหรับอื่นๆ ของ บิแซนเทียม[71] ชนเผ่าลัคนมิดเป็นเสาหลักของ จักรวรรดิเปอร์เซีย (Persia) ซึ่งไม่ยอมรับศาสนาที่เผยแพร่ศาสนาอย่างจริงจัง เช่น ศาสนาคริสต์[72]
หลังจากการเสียชีวิตของ มาอดีคาริบ ยาฟัวร์ (Ma'adikarib Ya'fur) ราวปี 521 ผู้นำชาวยิว ชาวฮิมยัรชื่อ ดู่ นูวาส (Dhu Nuwas) ขึ้นสู่อำนาจ จักรพรรดิ จัสติเนียนมหาราช (Justinian I) แห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก (Byzantine Empire) ได้ส่งคณะทูตไปยังเยเมน จักรพรรดิต้องการให้ ชาวฮิมยัรที่นับถือศาสนาคริสต์อย่างเป็นทางการ ใช้อิทธิพลกับชนเผ่าเร่ร่อนในคาบสมุทรอาหรับตอนกลาง เพื่อทำการรบกับเปอร์เซีย จัสติเนียนมหาราช ได้มอบ "บรรดาศักดิ์กษัตริย์" แก่ เชคอาหรับ (Arab sheikhs) แห่ง คินดะห์ (Kindah) และ กัซซาน (Ghassan) ในภูมิภาคตอนกลางและเหนือของคาบสมุทรอาหรับ[73] ตั้งแต่ช่วงแรก นโยบายของโรมันและไบแซนไทน์ คือการสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับอาณาจักรต่างๆ บนชายฝั่งทะเลแดง พวกเขาประสบความสำเร็จในการเผยแพร่ ศาสนาคริสต์ แก่อาณาจักรแอคซัม[โปรดขยายความ] และส่งผลต่อวัฒนธรรมของอาณาจักร สำหรับเยเมนแล้ว ผลลัพธ์ค่อนข้างน่าผิดหวัง[73]
ยาซิด บิน คับชัต (Yazid bin Kabshat) เจ้าชายแห่งคินดะห์ (Kendite prince) ก่อกบฏต่อ อับราฮา (Abraha) และพันธมิตรชาวคริสต์อาหรับ สงครามสงบลงหลังจากเขื่อนมาริบ (Great Dam of Marib) ได้พังทลาย[74] อับราฮา เสียชีวิตราวปี 570 จักรวรรดิซาเซเนียน เข้ายึดครองเอเดน (Aden) ราวปี 570 ภายใต้การปกครองของพวกเขา ดินแดนส่วนใหญ่ของเยเมน ยกเว้นเอเดนและซานา ต่างก็ได้รับอิสระภาพค่อนข้างมาก ยุคนี้ถือเป็นยุคที่อารยธรรมอาหรับใต้โบราณล่มสลาย เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ถูกปกครองโดยชนเผ่าอิสระหลายกลุ่ม จนกระทั่งศาสนาอิสลามเข้ามาในปี 630
ยุคกลาง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]เยเมนแบ่งออกเป็นเขตผู้ว่าการ 20 เขต (มุฮาฟะเซาะฮ์ ล่าสุดคือเขตผู้ว่าการเรย์มะฮ์ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2004) และเขตเทศบาลอีก 1 แห่งชื่อ "อะมานะฮ์ตุลอาศิมะฮ์" (Amanat Al-Asemah) (รวมเข้ากับเมืองหลวงตามรัฐธรรมนูญ 'ซานา' ในภายหลัง)[75] เขตว่าการโซโคตรา (Soqatra) ถูกจัดตั้งขึ้นเพิ่มเติมในเดือนธันวาคม 2013 ครอบคลุมพื้นที่ของเกาะโซโคตรา ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของเขตว่าการฮัฎเราะเมาต์ (Hadhramaut)[76] เขตว่าการต่าง ๆ ถูกแบ่งย่อยลงไปอีก 333 อำเภอ (เรียกว่า มูเดริยอะห์) ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2,210 ตำบล จากนั้นจึงแบ่งออกเป็น 38,284 หมู่บ้าน (ณ ปี ค.ศ. 2001)
ในปี 2014, คณะกรรมการรัฐธรรมนูญได้ตัดสินใจแบ่งประเทศออกเป็นหกภูมิภาค สี่แห่งทางตอนเหนือ สองแห่งทางทิศใต้ และเมืองหลวงซานานอกภูมิภาคใด ๆ เพื่อสร้างรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ[77] ข้อเสนอของรัฐบาลกลางนี้เป็นปัจจัยเอื้อต่อการรัฐประหารต่อต้านรัฐบาลของกลุ่มฮูตีในเวลาต่อมา[78][79][80]
- เศาะอ์ดะฮ์ (Saada)
- อัลเญาฟ์ (Al Jawf)
- ฮัฎเราะเมาต์ (Hadhramaut)
- อัลมะฮ์เราะฮ์ (Al Mahrah)
- ฮัจญ์ญะฮ์ (Hajjah)
- อัมรอน (Amran)
- อัลมะห์วีต (Al Mahwit)
- อะมานะฮ์ตุลอาศิมะฮ์
(เมืองซานา) (Amanat Al Asimah
(Sana'a City)) - ซานา (Sana'a)
- มะอ์ริบ (Ma'rib)
- อัลฮุดัยดะฮ์ (Al Hudaydah)
- ร็อยมะฮ์ (Raymah)
- ษะมาร (Dhamar)
- อิบบ์ (Ibb)
- อัฎฎอเลียะอ์ (Dhale)
- อัลบัยฎออ์ (Al Bayda)
- ชับวะฮ์ (Shabwah)
- ตะอิซซ์ (Taiz)
- ละฮิจญ์ (Lahij)
- อับยัน (Abyan)
- เอเดน (Aden)
- โซโคตรา (Socotra)
ข้อมูลประชากร
[แก้]เยเมนมีประชากร 33 ล้าน คนตามการประมาณการในปี ค.ศ. 2021[81][82] โดยร้อยละ 46 ของประชากรมีอายุต่ำกว่า 15 ปี และร้อยละ 2.7 มีอายุมากกว่า 65 ปี ในปี 1950 ประชากรเยเมนมีเพียง 4.3 ล้านคนเท่านั้น คาดการณ์ว่าประชากรจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 60 ล้านคนภายในปี 2050 เยเมนมีอัตราการเจริญพันธุ์รวม (total fertility rate) ที่สูง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.45 คนต่อสตรี 1 คน ประชากรเมืองซานา (Sana'a) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากประมาณ 55,000 คนในปี 1978 เป็นเกือบ 1 ล้านคนในช่วงต้นศตวรรษที่ 21
ประชากร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภาษา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่ใช้กันโดยทั่วไป
ศาสนา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ส่วนใหญ่ประเทศในแถบคาบสมุทรอาหรับ จะนับถือศาสนาอิสลาม เกือบ 100% รวมถึงเยเมน
การศึกษา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สุขภาพ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สื่อ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โรงละคร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กีฬา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
แหล่งมรดกโลก
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อาหาร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เป็นอาหารที่มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากอาหารที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในตะวันออกกลาง อาหารเยเมนในภูมิภาคที่ที่ต่างกันยังมีความแตกต่างกันเล็กน้อยอาหารเยเมนได้รับอิทธิพลจากอาหารตุรกีสมัยจักรวรรดิออตโตมันมากเนื่องจากการถูกยึดครองโดยจักรวรรดิออตโตมัน
วันหยุด
[แก้]- 22 พฤษภาคม วันรวมใจ
- Eid Al Fitr สิ้นสุดเดือนรอมฎอนวันที่แตกต่างกันไปตามวัฏจักรของจันทรคติ
- Eid al-Adha Feast of Sacrifice วันที่แตกต่างกันไปตามวัฏจักรของจันทรคติ
วันปีใหม่อิสลามแตกต่างกันไปตามปฏิทินจันทรคติ
- 26 กันยายน วันปฏิวัติ
- 14 ตุลาคม วันปลดปล่อย
- 30 พฤศจิกายน วันประกาศอิสรภาพ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 เรียกตามกระทรวงการต่างประเทศ "แถลงการณ์ประเทศไทยกรณีการจัดตั้งสภาประธานาธิบดีในเยเมน". กระทรวงการต่างประเทศ. 27 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Yemen's Constitution of 1991 with Amendments through 2015" (PDF). Constitute Project. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 เมษายน 2021. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2020.
- ↑ "Yemen – Flora, Fauna, Ecosystems". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2023.
- ↑ "Yemen". Central Intelligence Agency. CIA World Factbook. 6 ธันวาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2021.
- ↑ "IAEA's support to animal health services in Yemen". IAEA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 เมษายน 2021. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2021.
- ↑ "Yemen population". Yemen population 2023 Estimate based on UN World Bank. world population review. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2023.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "World Economic Outlook Database, October 2023 Edition. (Yemen)". IMF.org. International Monetary Fund. 10 ตุลาคม 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2023.
- ↑ "GINI index (World Bank estimate)". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2017.
- ↑ "Human Development Report 2023/24". United Nations Development Programme. 13 มีนาคม 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2023.
- ↑ "Yemen". International News Safety Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2009.
- ↑ "Yemen | History, Map, Flag, Population, Capital, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2023.
- ↑ "Yemen", The World Factbook (ภาษาอังกฤษ), Central Intelligence Agency, 22 มีนาคม 2024, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤษภาคม 2021, สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2024
- ↑ McLaughlin, Daniel (1 กุมภาพันธ์ 2008). Yemen. Bradt Travel Guides. p. 3. ISBN 978-1-84162-212-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2017.
- ↑ "Yemen Population (2023) - Worldometer". www.worldometers.info (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2023.
- ↑ Burrowes, Robert D. (2010). Historical Dictionary of Yemen. Rowman & Littlefield. p. 319. ISBN 978-0-8108-5528-1.
- ↑ St. John Simpson (2002). Queen of Sheba: treasures from ancient Yemen. British Museum Press. p. 8. ISBN 0-7141-1151-1.
- ↑ Kenneth Anderson Kitchen (2003). On the Reliability of the Old Testament. Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 116. ISBN 0-8028-4960-1.
- ↑ Yaakov Kleiman (2004). DNA & Tradition: The Genetic Link to the Ancient Hebrews. Devora Publishing. p. 70. ISBN 1-930143-89-3.
- ↑ Marta Colburn (2002). The Republic of Yemen: Development Challenges in the 21st Century. CIIR. p. 13. ISBN 1-85287-249-7.
- ↑ Karl R. DeRouen; Uk Heo (2007). Civil Wars of the World: Major Conflicts Since World War II, Volume 1. ABC-CLIO. p. 810. ISBN 978-1-85109-919-1.
- ↑ Laura Etheredge (2011). Saudi Arabia and Yemen. The Rosen Publishing Group. p. 137. ISBN 978-1-61530-335-9.
- ↑ Burrowes, Robert. "Why Most Yemenis Should Despise Ex-president Ali Abdullah Saleh". Yemen Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มิถุนายน 2017. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2015.
- ↑ James L. Gelvin (2012). The Arab Uprisings: What Everyone Needs to Know. Oxford University Press. p. 68. ISBN 978-0-19-989177-1.
- ↑ Mareike Transfeld (2014). "Capturing Sanaa: Why the Houthis Were Successful in Yemen". Muftah. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2014.
- ↑ Steven A. Zyck (2014). "Mediating Transition in Yemen: Achievements and Lessons" (PDF). International Peace Institute. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2014.
- ↑ Silvana Toska (26 กันยายน 2014). "Shifting balances of power in Yemen's crisis". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2014.
- ↑ "Houthi leader vows to defend 'glorious revolution'". Al Jazeera. 8 กุมภาพันธ์ 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2015. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2015.
- ↑ Aboueldahab, Noha. "Yemen's fate was sealed six years ago". www.aljazeera.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 สิงหาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2017.
- ↑ Borger, Julian (5 มิถุนายน 2015). "Saudi-led naval blockade leaves 20 m Yemenis facing humanitarian disaster". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2015.
- ↑ "LDCs at a Glance | Department of Economic and Social Affairs". Economic Analysis & Policy Division | Dept of Economic & Social Affairs | United Nations. 25 พฤษภาคม 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มีนาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2020.
- ↑ "Least Developed Countries (LDCs) | Department of Economic and Social Affairs". Economic Analysis & Policy Division | Dept of Economic & Social Affairs | United Nations. 23 กันยายน 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2020.
- ↑ "Overview". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2023.
- ↑ "Yemen: 2019 Humanitarian Needs Overview [EN/AR]". ReliefWeb. United Nations Office for the Coordination of Humanitarian Affairs (OCHA). 14 กุมภาพันธ์ 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2019. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2019.
- ↑ "Global Data | Fragile States Index". fragilestatesindex.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2020.
- ↑ Jawād ʻAlī (1968) [Digitized 17 February 2007]. الـمـفـصـّل في تـاريـخ العـرب قبـل الإسـلام [Detailed history of Arabs before Islam] (ภาษาอาหรับ). Vol. 1. Dār al-ʻIlm li-l-Malāyīn. p. 171.
- ↑ Neuwirth, Angelika; Sinai, Nicolai; Marx, Michael (2010). The Qur??n in Context: Historical and Literary Investigations Into the Qur??nic Milieu. BRILL. ISBN 9789004176881.
- ↑ Burrowes (2010), p. 145
- ↑ Smith, William Robertson. Kinship and Marriage in Early Arabia. p. 193. ISBN 1-117-53193-7.
He was worshiped by the Madhij and their allies at Jorash (Asir) in Northern Yemen
- ↑ Beeston, A.F.L.; Ghul, M.A.; Müller, W.W.; Ryckmans, J. (1982). Sabaic Dictionary. University of Sanaa, YAR. p. 168. ISBN 2-8017-0194-7.
- ↑ Vladimir Sergeyevich Solovyov (2007). Enemies from the East?: V. S. Soloviev on Paganism, Asian Civilizations, and Islam. Northwestern University Press. p. 149. ISBN 978-0-8101-2417-2.
- ↑ Edward Balfour (1873). Cyclopædia of India and of Eastern and Southern Asia, Commercial, Industrial and Scientific: Products of the Mineral, Vegetable and Animal Kingdoms, Useful Arts and Manufactures, Band 5. Printed at the Scottish & Adelphi presses. p. 240.
- ↑ Bell, Richard (20 ตุลาคม 1926). "Origin Of Islam In Its Christian Environment" – โดยทาง Internet Archive.
- ↑ Nöldeke, Theodor (1879). T. Nöldeke, Geschichte der Perser und Araber zur Zeit der en aus der arabischen Chronik des Tabari: Übersetzt und mit ausführlichen Erläuterungen und ergänzungen Versehn. Leiden: E.J. Brill. pp. 222.
- ↑ McLaughlin (2008), p. 4
- ↑ Kenneth Anderson Kitchen (2003). On the Reliability of the Old Testament. Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 594. ISBN 0-8028-4960-1.
- ↑ อัลกุรอาน 27:6-93
- ↑ อัลกุรอาน 34:15-18
- ↑ Geoffrey W. Bromiley (1979). The International Standard Bible Encyclopedia. Vol. 4. Wm. B. Eerdmans. p. 254. ISBN 0-8028-3784-0.
- ↑ Nicholas Clapp (2002). Sheba: Through the Desert in Search of the Legendary Queen. Houghton Mifflin Harcourt. p. 204. ISBN 0-618-21926-9.
- ↑ P. M. Holt; Peter Malcolm Holt; Ann K. S. Lambton; Bernard Lewis (21 เมษายน 1977). The Cambridge History of Islam. Cambridge University Press. p. 7.
- ↑ Korotayev, Andrey (1995). Ancient Yemen: some general trends of evolution of the Sabaic language and Sabaean culture. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-922237-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2017.
- ↑ McLaughlin (2008), p. 5
- ↑ Jerry R. Rogers; Glenn Owen Brown; Jürgen Garbrecht (1 มกราคม 2004). Water Resources and Environmental History. ASCE Publications. p. 36. ISBN 0-7844-7550-4.
- ↑ Negev, Avraham; Gibson, Shimon, บ.ก. (2001). Dedan. Archaeological Encyclopedia of the Holy Land. New York and London: Continuum. p. 137. ISBN 0-8264-1316-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2021. (Snippet view).
- ↑ Lionel Casson (2012). The Periplus Maris Erythraei: Text with Introduction, Translation, and Commentary. Princeton University Press. p. 150. ISBN 978-1-4008-4320-6.
- ↑ Peter Richardson (1999). Herod: King of the Jews and Friend of the Romans. Continuum. p. 230. ISBN 0-567-08675-5.
- ↑ Hârun Yahya (1999). Perished Nations. Global Yayincilik. p. 115. ISBN 1-897940-87-4.
- ↑ Jan Retso (2013). The Arabs in Antiquity: Their History from the Assyrians to the Umayyads. Routledge. p. 402. ISBN 978-1-136-87282-2.
- ↑ Clifford Edmund Bosworth (1989). The Encyclopedia of Islam. Vol. 6. Brill Archive. p. 561. ISBN 9004090827.
- ↑ G. Johannes Botterweck; Helmer Ringgren (1979). Theological Dictionary of the Old Testament. Vol. 3. Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 448. ISBN 0-8028-2327-0.
- ↑ Jawād ʻAlī (1968) [Digitized 17 February 2007]. الـمـفـصـّل في تـاريـخ العـرب قبـل الإسـلام [Detailed history of Arabs before Islam] (ภาษาอาหรับ). Vol. 2. Dār al-ʻIlm lil-Malāyīn. p. 482.
- ↑ Albert Jamme (1962). Inscriptions From Mahram Bilqis (Marib). Baltimore. p. 392.
- ↑ Dieter Vogel; Susan James (1990). Yemen. APA Publications. p. 34.
- ↑ Klaus Schippmann (2001). Ancient South Arabia: from the Queen of Sheba to the advent of Islam. Markus Wiener Publishers. pp. 52–53. ISBN 1-55876-236-1.
- ↑ Francis E. Peters (1994). Muhammad and the Origins of Islam. SUNY Press. p. 48. ISBN 0-7914-1875-8.
- ↑ Scott Johnson (1 พฤศจิกายน 2012). The Oxford Handbook of Late Antiquity. Oxford University Press. p. 265. ISBN 978-0-19-533693-1.
- ↑ Y. M. Abdallah (1987). "The Inscription CIH 543: A New Reading Based on the Newly-Found Original". ใน C. Robin & M. Bafaqih (บ.ก.). Sayhadica: Recherches Sur Les Inscriptions De l'Arabie Préislamiques Offertes Par Ses Collègues Au Professeur A.F.L. Beeston. Paris: Librairie Orientaliste Paul Geuthner S.A. pp. 4–5.
- ↑ Raphael Patai; Jennifer Patai (1989). The Myth of the Jewish Race. Wayne State University Press. p. 63. ISBN 0-8143-1948-3.
- ↑ Uwidah Metaireek Al-Juhany (2002). Najd before the Salafi reform movement: social, political and religious conditions during the three centuries preceding the rise of the Saudi state. Ithaca Press. p. 171. ISBN 0-86372-401-9.
- ↑ Scott Johnson (1 พฤศจิกายน 2012). The Oxford Handbook of Late Antiquity. Oxford University Press. p. 266. ISBN 978-0-19-533693-1.
- ↑ Scott Johnson (1 พฤศจิกายน 2012). The Oxford Handbook of Late Antiquity. Oxford University Press. p. 282. ISBN 978-0-19-533693-1.
- ↑ Irfan Shahîd (1989). Byzantium and the Arabs in the 5th Century. Dumbarton Oaks. p. 65. ISBN 0-88402-152-1.
- ↑ 73.0 73.1 Scott Johnson (1 พฤศจิกายน 2012). The Oxford Handbook of Late Antiquity. Oxford University Press. p. 293. ISBN 978-0-19-533693-1.
- ↑ Scott Johnson (1 พฤศจิกายน 2012). The Oxford Handbook of Late Antiquity. Oxford University Press. p. 285. ISBN 978-0-19-533693-1.
- ↑ กระทรวงสาธารณสุขและประชากร ประเทศเยเมน
- ↑ "Law establishing province of Socotra Archipelago issued". Presidenthadi-gov-ye.info. 18 ธันวาคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ "Yemen to Become Six-Region Federation". Al-Jazeera. 10 กุมภาพันธ์ 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ Al-Haj, Ahmed (3 มกราคม 2015). "Yemen's Shiite rebels reject plan for federal system". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2015.
- ↑ "Yemeni government quits in protest at Houthi rebellion". The Guardian. 22 มกราคม 2015. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2015.
- ↑ Greenfield, Danya (22 มกราคม 2015). "Yemen crisis: A coup in all but name". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มกราคม 2023. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2015.
- ↑ "The General Census of Population 2004". Sabanews. 29 ธันวาคม 2004 [Updated 13 December 2013]. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2013.
- ↑ "The population explosion on Europe's doorstep". Times (London). London. 18 พฤษภาคม 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013.
- ประเทศเยเมน เก็บถาวร 2011-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
โน้ต
[แก้]- ↑ พื้นที่เยเมนรวมถึงพื้นที่ที่ซาอุดิอาระเบียยกให้คือ 555,000 ตารางกิโลเมตร[5] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกำแพงกั้นระหว่างซาอุดีอาระเบีย-เยเมน เยเมนจึงมักถูกพิจารณาว่ายังคงมีพื้นที่ 530,000 ตารางกิโลเมตร
- ↑ (อาหรับ: ٱلْجُمْهُورِيَّةُ ٱلْيَمَنِيَّةُ, อักษรโรมัน: al-Jumhūriyya l-Yamaniyya (แม่แบบ:ALA-LC), แปลว่า the Yemeni Republic)
- ↑ Constitutional capital under การปฏิวัติของฮูษีในเยเมน control
- ↑ โต้แย้งโดย Mahdi al-Mashat แห่งสภาการเมืองสูงสุด แม้จะไม่ได้ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในรัฐบาลก็ตาม Houthi movement ผู้นำ Abdul-Malik al-Houthi ควบคุม SPC
- ↑ โต้แย้งโดย Abdel-Aziz bin Habtour แห่งสภาการเมืองสูงสุด
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รัฐบาล
- (อาหรับ) Yemen Government official portal (At the Wayback Machine, March 2009)
- Yemen entry at The World Factbook
- ประเทศเยเมน แหล่งข้อมูลบนเครือข่ายเว็บจัดทำโดย GovPubs ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์
- ประเทศเยเมน ที่เว็บไซต์ Curlie
- Yemen profile from the BBC News
- Wikimedia Atlas of Yemen
- การศึกษา
- การท่องเที่ยว
- คู่มือการท่องเที่ยว ประเทศเยเมน จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- อื่นๆ