UTC+11:30
เมอริเดียน | |
---|---|
กลาง | เส้นเมริเดียนที่ 15 องศาตะวันออก |
อื่น ๆ | |
หมู่วันเวลา (DTG) | L* |
แหล่งข้อมูลอื่น |
UTC+11:30 เป็นตัวบ่งบอกความเฉของเวลาเพิ่มจากเวลาสากลเชิงพิกัด +11:30
เขตเวลานี้อิงจากเส้นเมริเดียนที่ 172 องศาตะวันออก 30 ลิปดา ของกรีนิช เวลาท้องถิ่นในเขตเวลานี้เร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 11 ชั่วโมง 30 นาที[1] และเร็วกว่าเวลาในประเทศไทย 4 ชั่วโมง 30 นาที
ประวัติ
[แก้]เขตเวลานี้เคยถูกใช้เป็นเวลามาตรฐาน (Standard time) ในประเทศนิวซีแลนด์และเกาะนอร์ฟอล์ก แต่ไม่มีที่ไหนใช้เป็นเขตเวลาอีกต่อไป
เมื่อวันที่ 2 พฤษจิกายน ค.ศ. 1868 ประเทศนิวซีแลนด์ได้กำหนดเวลามาตรฐานอย่างเป็นทางการให้ปฏิบัติตามทั่วประเทศ และอาจเป็นประเทศแรกที่ทำเช่นนั้น โดยอิงจากลองจิจูด 172 องศาตะวันออก 30 ลิปดา ของกรีนิช ซึ่งเร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนิช 11 ชั่วโมง 30 นาที มาตรฐานนี้เรียกว่า New Zealand Mean Time (NZMT) หรือเวลามัชฌิมนิวซีแลนด์[1] ปัจจุบันจะอยู่ในเขตเดียวกับ UTC+11:30 ประเทศนิวซีแลนด์ได้เปลี่ยนจาก NZMT เป็นเวลามาตรฐานนิวซีแลนด์ (NZST) คือ UTC+12:00 ในปี ค.ศ. 1946 (หลังจากใช้เขตเวลานี้เป็นเวลาออมแสงนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1928 รวมถึงเป็นเวลาออมแสงถาวรตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941)[2] มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นทางการเป็นเวลา 12 ชั่วโมงก่อน UTC (UTC+12:00) ในปี ค.ศ. 1946[3]
เวลามาตรฐานของเกาะนอร์ฟอล์ก (NFT) คือ UTC+11:30 จนกระทั่งวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เมื่อมีการเปลี่ยนไปใช้ UTC+11:00[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Evening Post — 8 April 1929 — OUR TIME". paperspast.natlib.govt.nz. 2011. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Daylight Saving History". New Zealand Department of Internal Affairs. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Daylight Saving". New Zealand Department of Internal Affairs. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2015.
- ↑ Hardgrave, Gary (3 กันยายน 2015). "Norfolk Island standard time changes 4 October 2015" (Press release). ผู้สำเร็จราชการเกาะนอร์ฟอล์ก. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]