[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

SN 1054

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูเปอร์โนวา SN 1054
ข้อมูลสังเกตการณ์ (ต้นยุคอ้างอิง ?)
ประเภทซูเปอร์โนวาประเภท II
ประเภทซากเนบิวลา
ดาราจักรถิ่นทางช้างเผือก
กลุ่มดาววัว
ไรต์แอสเซนชัน5h 34.5m
เดคลิเนชัน+22o 01'
พิกัดทรงกลมท้องฟ้าG.184.6-5.8
วันที่ค้นำบค.ศ. 1054
โชติมาตรปรากฏ (V)-6[1]
ระยะห่าง6,500 ปีแสง (2.0 กิโลพาร์เซก)
ลักษณะทางกายภาพ
ดาวฤกษ์ต้นกำเนิดไม่ทราบ
ประเภทดาวฤกษ์ต้นกำเนิดไม่ทราบ
สี (B-V)ไม่ทราบ

SN 1054 (ซูเปอร์โนวาปู) เป็นซูเปอร์โนวาที่สามารถมองเห็นได้จากโลกในปี ค.ศ. 1054 ดาวฤกษ์ต้นกำเนิดซูเปอร์โนวาตั้งอยู่ในดาราจักรทางช้างเผือกและห่างจากโลก 6,300 ปีแสง ซึ่งเป็นการระเบิดประเภทแกนกลางยุบตัว

ซากที่เหลือของ SN 1054 เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น เนบิวลาปู[2] เนบิวลาปูมีชื่ออื่นว่าเมสสิเยร์ 1 หรือ เอ็ม 1 ซึ่งเป็นวัตถุท้องฟ้าของเมสสิเยร์วัตถุแรกที่ได้รับการบันทึกในปี ค.ศ. 1758

การบันทึก

[แก้]

SN 1054 ได้รับการบันทึกโดยนักดาราศาสตร์ชาวเปอร์เซีย/อาหรับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และอเมริกันพื้นเมืองว่าเป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างพอที่จะสามารถมองเห็นได้ในเวลากลางวันถึง 23 วันติดต่อกัน และมองเห็นได้ในเวลากลางคืนติดต่อกันถึง 653 คืน[1][2][3] นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานที่ว่าชาวอเมริกันพื้นเมืองบางเผ่าที่สังเกตและบันทึก SN 1054 ภาพวาดบนภูเขาของเผ่าอนาซาซีในอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติวัฒนธรรมชาโคอาจแสดงถึงซูเปอร์โนวาดังกล่าว[4]

ภาพจำลองของมหานวดารา SN 1054 ที่ตำแหน่งเนบิวลาปูในปัจจุบัน และคาดว่าน่าจะสังเกตได้จากเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งที่เมืองไคเฟิงประเทศจีน ในช่วงเช้าของวันที่ 4 กรกฎาคม 1054

แหล่งรังสีเอกซ์

[แก้]

เทารัส เอกซ์อาร์-1 ได้รับการค้นพบเมื่อ 29 เมษายน ค.ศ. 1963 ที่ J1950 ระบบพิกัดศูนย์สูตร: ไรต์แอสเซนชัน 05h เดคลิเนชัน +22.1° จรวดขนส่งด้านวิทยาศาสตร์แอโรบีได้นำเอาเครื่องนับแบบสัดส่วนที่ผลิตขึ้นโดยทีมจากห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา การทดลองดังกล่าวนับเป็นความพยายามครั้งแรกที่จะตรวจวัดรังสีเอกซ์จากซากซูเปอร์โนวาเนบิวลาปู[5] แหล่งรังสีเอกซ์นี้ได้ชื่อว่าเทารัส เอกซ์อาร์-1 หรือในภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น เทารัส เอกซ์-1 และพลังงานที่เนบิวลาปูปลดปล่อยออกมาในรังสีเอกซ์มากกว่ารังสีที่ปลดปล่อยออกมาในแสงที่มองเห็นได้ถึง 100 เท่า

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Supernova 1054 – Creation of the Crab Nebula". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กรกฎาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2010.
  2. 2.0 2.1 Duyvendak, J. J. L. (เมษายน 1942). "Further Data Bearing on the Identification of the Crab Nebula with the Supernova of 1054 A.D. Part I. The Ancient Oriental Chronicles". Publications of the Astronomical Society of the Pacific. 54 (318): 91–94.
    Mayall, N. U.; Oort, Jan Hendrik (เมษายน 1942). "Further Data Bearing on the Identification of the Crab Nebula with the Supernova of 1054 A.D. Part II. The Astronomical Aspects". Publications of the Astronomical Society of the Pacific. 54 (318): 95–104.
  3. Brecher, K.; และคณะ (1983). "Ancient records and the Crab Nebula supernova". The Observatory. 103: 106–113. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2008.
  4. Miller, Williams C. (1955). "Two possible astronomical pictographs found in northern Arizona". Plateau. 27 (4): 6–13.
  5. Drake SA (กันยายน 2006). "A Brief History of High-Energy Astronomy: 1960 – 1964".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

พิกัด: Sky map 05h 34m 30s, +22° 01′ 00″