[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

แมคโอเอส บิ๊กเซอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก MacOS Big Sur)
macOS 11.0 Big Sur
รุ่นของระบบปฏิบัติการmacOS
ผู้พัฒนาApple Inc.
ตระกูลระบบปฏิบัติการ
รหัสต้นฉบับClosed, with open source components
พร้อมใช้งาน
โดยทั่วไป
12 พฤศจิกายน 2020; 4 ปีก่อน (2020-11-12)[1]
วิธีการอัปเดตSoftware Update
แพลตฟอร์มx86-64, ARM64[2]
ชนิดเคอร์เนลHybrid (XNU)
สัญญาอนุญาตProprietary software with open-source components and content licensed with APSL
รุ่นก่อนหน้าแมคโอเอส 10.15 คาทาลินา
รุ่นถัดไปแมคโอเอส 12 มอนเทเรย์
เว็บไซต์ทางการapple.com/macos/big-sur
สถานะการสนับสนุน
Beta

แมคโอเอส บิ๊กเซอร์ (อังกฤษ: macOS Big Sur) (เวอร์ชัน 11.0) [3] เป็นแมคโอเอสรุ่นที่สิบเจ็ด ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการของ Apple Inc. สำหรับคอมพิวเตอร์ Macintosh รุ่นต่อจาก macOS Catalina (เวอร์ชัน 10.15) ได้รับการประกาศในงาน Worldwide Developers Conference (WWDC) ของ Apple เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยมีกำหนดวางจำหน่ายต่อสาธารณะในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 [4][3][5] โดยในรุ่นนี้ ได้รับการตั้งชื่อตามพื้นที่ชายฝั่งของบิ๊กเซอร์ในชายฝั่งตอนกลางของแคลิฟอร์เนีย

แมคโอเอส บิ๊กเซอร์ นำเสนอการปรับการออกแบบการเชื่อมต่อผู้ใช้ครั้งใหญ่ นอกจากนี้ยังเป็นแมคโอเอสเวอร์ชันแรกที่รองรับ Mac ที่มีโปรเซสเซอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM จากแอปเปิลซิลิคอน เป็นจุดที่แสดงการเปลี่ยนแปลงจำนวนรุ่นหลักของระบบปฏิบัติการได้เพิ่มขึ้นจาก 10 เป็น 11 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เปิดตัว Mac OS X Public Beta ในปี ค.ศ. 2000 [6][7]

ความต้องการของระบบ

[แก้]
  • แมคบุ๊ก: รุ่นปี 2015 หรือใหม่กว่า
  • แมคบุ๊ก โปร: รุ่นปี 2013 หรือใหม่กว่า
  • แมคบุ๊ก แอร์: รุ่นปี 2013 หรือใหม่กว่า
  • แมค มินิ: รุ่นปี 2014 หรือใหม่กว่า
  • ไอแมค: รุ่นปี 2014 หรือใหม่กว่า
  • ไอแมค โปร: รุ่นปี 2017 หรือใหม่กว่า
  • แมคโปร: รุ่นปี 2013 หรือใหม่กว่า[8]
  • ชุดอุปกรณ์พัฒนา Developer Transition Kit รุ่นปี 2020

สิ่งที่เพิ่มเข้ามาใหม่

[แก้]

ในรุ่นนี้ ได้ทำการเปลี่ยนหน้าตา ยกดีไซน์ใหม่ไปใช้แบบใหม่ ดูสะอาดตามากยิ่งขึ้น พร้อมอัพเกรดไอคอนใหม่ด้วยเช่นกัน ถือว่าเป็นรุ่นที่เปลี่ยนการออกแบบใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ในรุ่น Mac OS X นอกจากนี้ ยังได้เปลี่ยนเสียงใหม่ด้วยเช่นกัน

Control Center

[แก้]

เพิ่ม Control Center และเปลี่ยนหน้าตาของ Notification Center ใหม่ทั้งหมด และเพิ่มการควบคุมการใช้งาน ซึ่งจะคล้ายกับ ไอโอเอส และไอแพดโอเอส

เบราว์เซอร์ Safari

[แก้]

เพิ่ม Privacy Report , เพิ่มความสามารถในการเปลี่ยนพื้นหลัง ในหน้าแรก และรองรับส่วนเสริมใน Safari นอกจากนั้น ยังให้มีการอัปเดตให้โหลดได้เร็วขึ้น และประหยัดพลังงานยิ่งขึ้น และเป็นรุ่นแรก ที่ได้นำเอา Adobe Flash Player ออกจากเบราว์เซอร์นี้

ปรับปรุงแอพพลิเคชั่น

[แก้]

แอพพลิเคชั่น Maps , Photos , Messenge และอื่น ๆ ใหม่ทั้งหมด ให้หน้าตานั้น เหมือนกันกับไอแพดโอเอส ซึ่งรวมไปถึง Finder ที่ได้ปรับมาใหม่ด้วยเช่นกัน[9]

ตัวระบบปฏิบัติการ

[แก้]

รองรับซีพียูบนสถาปัตยกรรม ARM จากแอปเปิลซิลิคอน

[แก้]

ในรุ่นนี้ เป็นรุ่นแรกที่รองรับซีพียูบนสถาปัตยกรรม ARM อย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และประหยัดพลังงานสูงสุด ในทั้งนี้ ยังสามารถใช้กับซีพียู Intel ในสถาปัตยกรรม x86-64 ได้อยู่เช่นเคย และจะเปลี่ยนไปใช้สถาปัตยกรรม ARM สมบูรณ์ในอีก 2 ปี และยังส่งชุดอุปกรณ์พัฒนาที่คล้ายกับ Mac Mini มีนามว่า Developer Transition Kit หรือ DTK ซึ่งมีซีพียู Apple A12Z Bionic , ความจุแรม 16 GB , พื้นที่เก็บฮาร์ดดิสก์ SSD ความจุ 512 GB , ติดตั้ง macOS Big Sur ในรุ่นทดสอบสำหรับนักพัฒนา พร้อมโปรแกรม Xcode 12 มาให้ผู้พัฒนาใช้งานกัน

ส่วนในแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาโปรแกรม หรือออกแบบมาเพื่อ x86-64 นั้น จะสามารถทำได้ดังนี้

  • ใช้ Universal 2 เมื่อเปิดโปรเจกต์โปรแกรม บนใน Xcode 12 Beta ขึ้นไป จะให้ทำการแปลงแอพพลิเคชั่น เพื่ออัพเกรดให้รองรับ macOS ทั้งในสถาปัตยกรรม ARM และ x86-64 ได้
  • ใช้ระบบแปลงไบนารี่ Rosetta 2 ที่ให้โปรแกรมที่สร้างในสถาปัตยกรรม x86-64 นั้น ให้สามารถรันบนในสถาปัตยกรรม ARM ได้
  • เพิ่มระบบจำลอง ให้สามารถรันลินุกซ์ได้ พร้อมทั้งนี้ ยังรองรับแอพที่รันบนในไอโอเอส และไอแพดโอเอสได้อีกด้วย[10]

รองรับแอพที่รันบนในไอโอเอส และไอแพดโอเอส

[แก้]

จากการรองรับซีพียูบนสถาปัตยกรรม ARM นั้น ยังสามารถเปิดหรือใช้งานแอพฯ ที่รันบนในไอโอเอส และไอแพดโอเอส โดยไม่ต้องแปลงหรือทำการใดๆ ในตัวแอพพลิเคชั่น

การอัปเดตระบบปฏิบัติการ

[แก้]

การอัปเดตนี้ รองรับการอัพเกรดแบบทำงานในพื้นหลัง ก่อนทำการเริ่มระบบใหม่ เพื่อลดเวลาการอัปเดต

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rossignol, Joe (November 10, 2020). "Apple Releasing macOS Big Sur on November 12". MacRumors.
  2. Etherington, Darrell (June 22, 2020). "Apple is releasing a Mac mini with an Apple processor for developers starting this week". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ July 20, 2020.
  3. 3.0 3.1 Heater, Brian. "Apple unveils macOS 11.0 Big Sur". TechCrunch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2020. สืบค้นเมื่อ June 22, 2020.
  4. "Apple introduces macOS Big Sur with a beautiful new design" (Press release). Apple Inc. June 22, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2020. สืบค้นเมื่อ June 22, 2020.
  5. Carman, Ashley (2020-11-10). "Apple announces macOS Big Sur release date". The Verge (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-10.
  6. Rossignol, Joe (June 22, 2020). "macOS Big Sur Listed as 'Version 11.0' in System Preferences". MacRumors. สืบค้นเมื่อ June 24, 2020.
  7. Gruber, John (June 24, 2020). "The Talk Show Remote from WWDC 2020, With Craig Federighi and Greg Joswiak". Daring Fireball. สืบค้นเมื่อ June 25, 2020.
  8. "macOS Big Sur สามารถใช้งานได้กับคอมพิวเตอร์เหล่านี้". Apple. 24 พฤศจิกายน 2563. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. Apple. "New features coming with macOS Big Sur". สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. Apple. "Apple announces Mac transition to Apple silicon". สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)