ChAdOx1
ChAdOx1 คือไวรัสอะดีโนซึ่งใช้เป็นพาหะของวัคซีน ที่พัฒนาโดยสถาบันเจนเนอร์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ไวรัสเวกเตอร์นี้เป็นไวรัสอะดีโนในลิงชิมแปนซีที่ถูกดัดแปลงเพื่อหลีกเลี่ยงการจำลองแบบ
ไวรัสอะดีโนเป็นพาหะ (เวคเตอร์) ที่มีประสิทธิผลในการเหนี่ยวนำและกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเซลล์ต่อแอนติเจนสายผสมที่เข้ารหัส อย่างไรก็ตามความชุกของตัวอย่างที่มีปริมาณแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อเซโรไทป์ของไวรัสอะดีโนของมนุษย์ทำให้การใช้งานจำกัด แต่ไวรัสอะดีโนซิเมียนไม่มีข้อเสียในกรณีนี้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทดสอบวัคซีนใหม่โดยใช้ไวรัสอะดีโน ChAdOx1 ของลิงชิมแปนซีเป็นพาหะ ตัวอย่างเช่น วัคซีนสำหรับการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้รับการออกแบบโดยใช้เวกเตอร์ที่แสดงแอนติเจนของไข้หวัดใหญ่ นิวคลีโอโปรตีน (NP) และโปรตีนเมทริกซ์ 1 (M1) เพื่อสร้างวัคซีนที่ชื่อ ChAdOx1 NP+M1[1]
วิทยาไวรัส
[แก้]ChAdOx1 ได้มาจากซีโรไทป์ของไวรัสอะดีโนซิเมียน (ChAd) Y25 ที่ดัดแปลงโดยกระบวนการผสมสารพันธุกรรมแลมบ์ดาเรด (λ red recombination) เพื่อแลกเปลี่ยนยีน E4 orf4, orf6 และ orf6/7 กับยีนจากไวรัสอะดีโน HAdV-C5 ของมนุษย์[2][3]
การทดลองทางคลินิก
[แก้]มีการแสดงให้เห็นว่าเวคเตอร์ไวรัส ChAdOx1 ในวงศ์ adenoviridae สามารถใช้ทำวัคซีนที่ป้องกันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) ในหนูทดลอง และสามารถกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อ MERS ในมนุษย์ได้[4][5]
ไวรัสพาหะยังใช้ในการสร้างวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ซึ่งมีประสิทธิภาพในหนูแฮมสเตอร์ (แต่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ในมนุษย์)[6] นอกจากนั้นยังมีการสร้างวัคซีนที่มีศักยภาพสำหรับโรคไข้ริฟต์แวลลีย์ที่มีประสิทธิภาพป้องกันในแกะ แพะ และโค (แต่ไม่ได้มีการพิสูจน์ในมนุษย์)[7]
ไวรัสอะดีโนที่แสดงแอนติเจน 85A (ChAdOx1 85A) ถูกใช้เป็นพาหะสำหรับวัคซีนวัณโรค[8]
ในปี พ.ศ. 2560 มีการใช้ไวรัสพาหะ ChAdOx1 ในการทดลองวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียในมนุษย์ นักวิจัยได้ศึกษาวัคซีนทดลองสองชนิดคือ ChAdOx1 LS2 และ MVA LS2 โดยชนิดแรกได้เข้ารหัสแอนติเจน LS2 สองชนิดสำหรับโรคมาลาเรียระยะที่อยู่ในเซลล์ตับ (LSA1 และ LSAP2) ที่หลอมรวมกับโดเมนข้ามผ่านเยื่อหุ้มเซลล์จากสายโซ่ที่ไม่แปรเปลี่ยนของปลาฉลาม และชนิดหลังใช้ไวรัสพาหะ Modified Vaccinia Ankara (MVA) ที่เข้ารหัส LS2 โดยหลอมรวมกับปลาย C-terminal ของลำดับนำของตัวกระตุ้นพลาสมิโนเจนจากเนื้อเยื่อ (tPA) การทดลองดำเนินมาถึงระยะที่ I/IIa[9]
นอกจากนี้ยังมีการตรวจค้นหาสายพันธุ์ที่ใช้เป็นไวรัสพาหะสำหรับวัคซีนต่อต้านไวรัสซิกา (ChAdOx1 ZIKV)[10] และต่อต้านไวรัสชิคุนกุนยา (ChAdOx1 sCHIKV)[11]
ไวรัสเวกเตอร์ ChAdOx1 ถูกใช้เป็นฐานสำหรับพัฒนาวัคซีนต่อต้านโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่เริ่มมีการระบาด[12][13][14][15] ซาราห์ กิลเบิร์ตเป็นผู้นำโครงการวิจัยวัคซีนนี้ร่วมกับแอนดรูว์ พอลลาร์ด และคณะ[16] วัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ChAdOx1 nCoV-19 หรือ AZD1222 ใช้ประโยชน์จากไวรัสพาหะนี้ โดยกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนหนาม (peplomer) ของไวรัสโคโรนา[12][13] การศึกษาในสัตว์ทดลองเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 และการทดลองในมนุษย์มีการคัดเลือกผู้เข้าร่วม 510 คนสำหรับการทดลองในระยะ I/II ซึ่งเริ่มในวันที่ 27 มีนาคม[17][18][19] และผลการทดลองถูกนำเสนอในเดือนตุลาคม[20] ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563 วัคซีนได้รับการอนุมัติให้ใช้[21] ในโครงการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของสหราชอาณาจักร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Antrobus, Richard D.; Coughlan, Lynda; Berthoud, Tamara K.; Dicks, Matthew D.; Hill, Adrian VS; Lambe, Teresa; Gilbert, Sarah C. (2014-03-01). "Clinical Assessment of a Novel Recombinant Simian Adenovirus ChAdOx1 as a Vectored Vaccine Expressing Conserved Influenza A Antigens". Molecular Therapy (ภาษาอังกฤษ). 22 (3): 668–674. doi:10.1038/mt.2013.284. ISSN 1525-0016. PMC 3944330. PMID 24374965.
- ↑ Dicks, Matthew D. J.; Spencer, Alexandra J.; Edwards, Nick J.; Wadell, Göran; Bojang, Kalifa; Gilbert, Sarah C.; Hill, Adrian V. S.; Cottingham, Matthew G. (2012-07-13). "A Novel Chimpanzee Adenovirus Vector with Low Human Seroprevalence: Improved Systems for Vector Derivation and Comparative Immunogenicity". PLOS ONE (ภาษาอังกฤษ). 7 (7): e40385. Bibcode:2012PLoSO...740385D. doi:10.1371/journal.pone.0040385. ISSN 1932-6203. PMC 3396660. PMID 22808149.
- ↑ Morris, Susan J; Sebastian, Sarah; Spencer, Alexandra J; Gilbert, Sarah C (2016-09-01). "Simian adenoviruses as vaccine vectors". Future Virology. 11 (9): 649–659. doi:10.2217/fvl-2016-0070. ISSN 1746-0794. PMC 5842362. PMID 29527232.
- ↑ Munster, Vincent J.; Wells, Daniel; Lambe, Teresa; Wright, Daniel; Fischer, Robert J.; Bushmaker, Trenton; Saturday, Greg; van Doremalen, Neeltje; Gilbert, Sarah C.; de Wit, Emmie; Warimwe, George M. (2017). "Protective efficacy of a novel simian adenovirus vaccine against lethal MERS-CoV challenge in a transgenic human DPP4 mouse model". NPJ Vaccines. 2 (1): 28. doi:10.1038/s41541-017-0029-1. ISSN 2059-0105. PMC 5643297. PMID 29263883.
- ↑ "New MERS Coronavirus vaccine clinical trial starts in Saudi Arabia". 20 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-27. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.
- ↑ Halstead, Scott B.; van Doremalen, Neeltje; Lambe, Teresa; Sebastian, Sarah; Bushmaker, Trenton; Fischer, Robert; Feldmann, Friederike; Haddock, Elaine; Letko, Michael; Avanzato, Victoria A.; Rissanen, Ilona; LaCasse, Rachel; Scott, Dana; Bowden, Thomas A.; Gilbert, Sarah; Munster, Vincent (2019). "A single-dose ChAdOx1-vectored vaccine provides complete protection against Nipah Bangladesh and Malaysia in Syrian golden hamsters". PLOS Neglected Tropical Diseases. 13 (6): e0007462. doi:10.1371/journal.pntd.0007462. ISSN 1935-2735. PMC 6581282. PMID 31170144.
- ↑ Warimwe, George M.; Gesharisha, Joseph; Carr, B. Veronica; Otieno, Simeon; Otingah, Kennedy; Wright, Danny; Charleston, Bryan; Okoth, Edward; Elena, Lopez-Gil; Lorenzo, Gema; Ayman, El-Behiry; Alharbi, Naif K.; Al-dubaib, Musaad A.; Brun, Alejandro; Gilbert, Sarah C.; Nene, Vishvanath; Hill, Adrian V. S. (2016). "Chimpanzee Adenovirus Vaccine Provides Multispecies Protection against Rift Valley Fever". Scientific Reports. 6 (1): 20617. Bibcode:2016NatSR...620617W. doi:10.1038/srep20617. ISSN 2045-2322. PMC 4742904. PMID 26847478.
- ↑ "Helen McShane". Nuffield Department of Medicine. สืบค้นเมื่อ 2020-12-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "A Phase I/II Study to Assess the Safety, Immunogenicity and Protective Efficacy of Novel Malaria Vaccine Candidates ChAdOx1 LS2 and MVA LS2 in Healthy UK Adults". ClinicalTrials. University of Oxford. 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 5 December 2020.
- ↑ López-Camacho, César; Dowall, Stuart; Graham, Victoria; Findlay-Wilson, Stephen; Rayner, Emma; Kim, Young Chan; Hewson, Roger; Reyes-Sandoval, Arturo (2019-01-14). "A Zika vaccine based on chimpanzee adenovirus ChAdOx1 elicits lineage-transcending sterile immunity and prevents colonisation of brain and ovaries". bioRxiv (ภาษาอังกฤษ): 514877. doi:10.1101/514877. S2CID 91514525.
- ↑ López-Camacho, César; Kim, Young Chan; Blight, Joshua; Lazaro Moreli, Marcos; Montoya-Diaz, Eduardo; T Huiskonen, Juha; Mareike Kümmerer, Beate; Reyes-Sandoval, Arturo (April 2019). "Assessment of Immunogenicity and Neutralisation Efficacy of Viral-Vectored Vaccines Against Chikungunya Virus". Viruses (ภาษาอังกฤษ). 11 (4): 322. doi:10.3390/v11040322. PMC 6521086. PMID 30987160.
- ↑ 12.0 12.1 "Two groups of UK scientists in race to develop coronavirus vaccine". Evening Standard (ภาษาอังกฤษ). 2020-02-07. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
- ↑ 13.0 13.1 "Vaccine trials among recipients of £20 million coronavirus research investment". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
- ↑ "Oxford team to begin novel coronavirus vaccine research | University of Oxford". ox.ac.uk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
- ↑ Lane, Richard (2020). "Sarah Gilbert: carving a path towards a COVID-19 vaccine". The Lancet. 395 (10232): 1247. doi:10.1016/S0140-6736(20)30796-0. PMC 7162644. PMID 32305089.
- ↑ "COVID-19 Vaccine Trials | COVID-19". covid19vaccinetrial.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2020-04-11.
- ↑ Sample, Ian (2020-03-19). "Trials to begin on Covid-19 vaccine in UK next month". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
- ↑ Robson, Steve (2020-03-20). "British scientists hope to start coronavirus vaccine trials next month". manchestereveningnews.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2020-03-27.
- ↑ "UK scientists enrol volunteers for coronavirus vaccine trial". theguardian.com. The Guardian. 17 March 2020.
- ↑ "The Lancet | Safety and immunogenicity of the ChAdOx1 nCoV-19 vaccine against SARS-CoV-2: a preliminary report of a phase 1/2, single-blind, randomised controlled trial". www.thelancet.com. สืบค้นเมื่อ 2020-07-20.
- ↑ "Covid-19: Oxford-AstraZeneca coronavirus vaccine approved for use in UK". BBC News. BBC. 30 December 2020. สืบค้นเมื่อ 30 December 2020.