22 ตุลาคม
หน้าตา
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 22 ตุลาคม เป็นวันที่ 295 ของปี (วันที่ 296 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 70 วันในปีนั้น
เหตุการณ์
[แก้]- พ.ศ. 1337 (ค.ศ. 794) - จักรพรรดิคัมมุได้ย้ายเมืองหลวงของญี่ปุ่นไปยังเฮอังเกียว (ปัจจุบันคือเกียวโต)[1]
- พ.ศ. 1926 (ค.ศ. 1383) - สายราชสกุลฝ่ายชายของราชวงศ์บูร์กอญแห่งโปรตุเกสสิ้นสุดลงด้วยการสวรรคตของพระเจ้าเฟร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโปรตุเกสเหลือเพียงเจ้าหญิงบียาตริชพระราชธิดาของพระองค์เท่านั้น คู่แข่งที่อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์จึงได้เริ่มสงครามกลางเมืองและความวุ่นวาย[2]
- พ.ศ. 2176 (ค.ศ. 1633) - ราชวงศ์หมิงเอาชนะบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ในยุทธนาวีที่อ่าวเหลียวหลัว
- พ.ศ. 2250 (ค.ศ. 1707) - เรือของกองทัพเรืออังกฤษ 4 ลำเกยตื้นที่เกาะซิซิลีเนื่องจากการเดินเรือที่ผิดพลาด หลังจากนั้นจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติลองจิจูด ค.ศ. 1714
- พ.ศ. 2264 (ค.ศ. 1721) - จักรวรรดิรัสเซียได้รับการประกาศโดยซาร์ปีเตอร์ที่ 1 หรือพระเจ้าปีเตอร์มหาราชหลังจากความพ่ายแพ้ของสวีเดนในมหาสงครามเหนือ
- พ.ศ. 2273 (ค.ศ. 1730) - การขุดคลองลาโดกาเสร็จสมบูรณ์
- พ.ศ. 2289 (ค.ศ. 1746) - วิทยาลัยนิวเจอร์ซีย์ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน) ได้รับการอนุมัติ
- พ.ศ. 2327 (ค.ศ. 1784) - รัสเซียก่อตั้งอาณานิคมบนเกาะโคเดียก อะแลสกา
- พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) - Andre Jacques Garnerin กระโดดร่มชูชีพเป็นครั้งแรกซึ่งได้ถูกบันทึกไว้จากความสูง 1,000 เมตร (3,300 ฟุต) เหนือกรุงปารีส
- พ.ศ. 2379 (ค.ศ. 1836) - แซม ฮิวสตัน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเท็กซัส
- พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) - ตัดถนนบำรุงเมือง เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคแบบตะวันตก
- พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) - วันก่อตั้งโทสต์มาสเตอร์คลับ
- พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) - รัฐบาลไทย ส่งทหารไปปฏิบัติการรบร่วมกับสหประชาชาติในสงครามเกาหลี
- พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) - พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน 2499 ได้พระสมณนามว่า "ภูมิพโลภิกขุ" และเสด็จไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร
- พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา : จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศทางโทรทัศน์ว่ามีการค้นพบอาวุธนิวเคลียร์ของโซเวียตในคิวบา และสั่งการให้ "ปิดล้อม" เกาะคิวบา
- พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - ยานเวเนรา 9 ของสหภาพโซเวียต ลงจอดบนพื้นผิวดาวศุกร์ นับเป็นยานอวกาศลำแรกของโลกที่สามารถถ่ายภาพขาวดำของพื้นดินดาวศุกร์ได้
- พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) - ช็อควงการ WWE Roman Reigns เจ้าของแชมป์ WWE Universal Championship ณ ตอนนั้น ประกาศสละแชมป์เนื่องจากอาการป่วยโรคลูคีเมีย หรือ มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) - สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ จักรพรรดิองค์ที่ 126 แห่งญี่ปุ่น ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ พระราชวังหลวงโตเกียว
วันเกิด
[แก้]- พ.ศ. 2354 (ค.ศ. 1811) - ฟร้านซ์ ลิซท์ คีตกวีชาวฮังการี (ถึงแก่กรรม 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2429)
- พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) - หม่อมเจ้าทองชมพูนุท ทองแถม (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2491)
- พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) - ดอริส เลสซิง นักเขียนชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556)
- พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) - แบร์ท เทราท์มัน นักฟุตบอลชาวเยอรมัน (ถึงแก่กรรม 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556)
- พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) - โรเบิร์ต เราส์เชนเบิร์ก จิตรกรและประติมากรชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) - เลฟ ยาชิน นักฟุตบอลผู้รักษาประตูชาวโซเวียตเชื้อสายรัสเซีย (ถึงแก่กรรม 20 มีนาคม พ.ศ. 2533)
- พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) - คริสโตเฟอร์ ลอยด์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - มาริษา อมาตยกุล นักร้องชาวไทย
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - บุศรา นฤมิตร นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - ฟรานซิส ยิป นักร้องชาวฮ่องกง
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) - อาร์แซน แวงแกร์ ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) - เจฟฟ์ โกลด์บลุม นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - สนานจิตต์ บางสพาน นามปากกา
- พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) - ยูริ อาร์บาชาค็อฟ แชมป์โลกมวยสากลชาวรัสเซีย
- พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - เชลบี ลีนน์ นักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - ดีโล บราวน์ นักมวยปล้ำชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) -
- เจนนิเฟอร์ ลี ผู้กำกับภาพยนตร์ นักเขียนบทภาพยนตร์ชาวอเมริกัน
- ฮันนี่ ศรีอีสาน นักร้องหมอลำชาวไทย (เสียชีวิต 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535)
- พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) - ฝันดี-ฝันเด่น นักร้องชาวไทย
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - โดนี นักฟุตบอลชาวบราซิล
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) - ไก่ชน ส.วรพิน นักมวยชาวไทย
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - อติมา ธนเสนีวัฒน์ นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) - กันยรินทร์ นิธินพรัศม์ นักแสดงหญิงชาวไทย
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - ธนะรัศมิ์ฐา อุดมฉวี นักวอลเลย์บอลชายหาดชาวไทย
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) - กรณ์ภัสสร ด้วยเศียรเกล้า นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) -
- ทเวนตีวันซาเวจ แร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน
- ปุณิกา กุลสุนทรรัตน์ นางงามชาวไทย
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - เจ้าชายโอมาร์ บิน ไฟซาห์
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) -
- ปวีร์ ตัณฑะเตมีย์ นักฟุตบอลชาวไทย
- พัทธดนย์ จันทร์เงิน นักแสดงชายชาวไทย
- เมสัน ฮอลเกต นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- อันเดรส บิยาร์เรอัล นักกีฬากระโดดน้ำชายชาวเม็กซิโก
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - โจ รอดอน นักฟุตบอลชาวเวลส์
- นิชิโอกะ เคนโก อดีดไอดอลวง MAG!C PRINCE
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) - พาริส อินทรโกมาลย์สุต นักร้อง นักแสดงชายชาวไทย
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - โช ยู-รี นักร้องชาวเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) - ตริษา ปรีชาตั้งกิจ นักร้องชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- พ.ศ. 1284 (ค.ศ. 741) - ชาร์ลส์ มาร์เตล ผู้ปกครองชาวแฟรงค์ ถึงแก่กรรมที่ Quierzy-sur-Oise (France) (เกิด 23 สิงหาคม พ.ศ. 1229)
- พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) - พอล เซซานน์ จิตรกรชาวฝรั่งเศส (เกิด 19 มกราคม พ.ศ. 2381)
- พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) - แอนดรูว์ ฟิชเชอร์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของออสเตรเลีย (เกิด 29 สิงหาคม พ.ศ. 2405)
- พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) - พาโบล คาซาลส์ นักเชลโลและวาทยกรชาวสเปน (เกิด 29 ธันวาคม พ.ศ. 2419)
- พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) - อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บี นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ (เกิด 14 เมษายน พ.ศ. 2432)
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) - โพล้ง เลี้ยงประเสริฐ นักมวยดังจากอุตรดิตถ์ (เกิด พ.ศ. 2444)
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) - ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (เกิด 21 เมษายน พ.ศ. 2483)
- พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) - อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี คนที่ 18 ของไทย (เกิด 6 มีนาคม พ.ศ. 2490)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
[แก้]วันฉลอง บุญราศีจอห์น ปอลที่ 2
วันทหารผ่านศึกเกาหลี วันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Muhammad Abdul Jabbar Beg (1986). Historic Cities of Asia: An Introduction to Asian Cities from Antiquity to Pre-modern Times. M.A.J. Beg. p. 43. ISBN 978-967-9957-03-7.
- ↑ E. Michael Gerli (4 December 2013). Medieval Iberia: An Encyclopedia. Routledge. p. 332. ISBN 978-1-136-77162-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- BBC: On This Day (อังกฤษ)
- NY Times: On This Day (อังกฤษ)