เขตดอนเมือง
เขตดอนเมือง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Don Mueang |
ภาพถ่ายทางอากาศของท่าอากาศยานดอนเมืองตอนกลางคืน | |
คำขวัญ: ประตูสู่ประเทศ อาณาเขตทัพฟ้า งามสง่าสนามบินดอนเมือง เลื่องชื่อรับชาวต่างประเทศ เหนือสุดเขตกรุงเทพมหานคร | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตดอนเมือง | |
พิกัด: 13°54′49″N 100°35′23″E / 13.91361°N 100.58972°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 36.803 ตร.กม. (14.210 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 165,941[1] คน |
• ความหนาแน่น | 4,508.90 คน/ตร.กม. (11,678.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10210 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1036 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 999 ถนนเชิดวุฒากาศ แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 10210 |
เว็บไซต์ | www |
ดอนเมือง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่น โดยมีแหล่งสถาบันราชการอยู่ทางด้านตะวันออกของพื้นที่ เขตดอนเมืองมีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 11 ของกรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เขตดอนเมืองตั้งอยู่ทางเหนือสุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองปทุมธานีและอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) มีคลองบ้านใหม่ คลองเปรมประชากร ซอยเลียบคลองเปรมฯ 6 (เผ่าบุญธรรม) แนวเส้นตรงผ่านแนวรั้วบริษัท ดอนเมืองพัฒนา จำกัด แนวรั้วหมู่บ้านวังทอง แนวรั้วโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร และแนวรั้วอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตสายไหมและเขตบางเขน มีถนนพหลโยธินและคลองถนนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตหลักสี่ มีคลองวัดหลักสี่ คลองเปรมประชากร และคลองตาอูฐเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากเกร็ด (จังหวัดนนทบุรี) มีคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติและที่มาของชื่อ
[แก้]ดอนเมืองเป็นพื้นที่ที่ราบสูงน้ำท่วมไม่ถึง อยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เดิมเป็นพื้นที่ป่าสะแกและทุ่งนา เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่าง ๆ เช่น ช้าง เป็นต้น เดิมพื้นที่บริเวณนี้มีชื่อเรียกว่า ดอนอีเหยี่ยว เนื่องจากมีนกเหยี่ยวและนกแร้งอาศัยหากินอยู่เป็นจำนวนมาก มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ราว 50 หลังคาเรือน โดยมากจะอาศัยอยู่ตามริมท่าอากาศยานดอนเมืองในปัจจุบัน และริมคลองเปรมประชากร การคมนาคมมีแต่เพียงทางรถไฟที่จะเข้ากรุงเทพมหานคร หรือออกไปสู่ต่างจังหวัดเท่านั้น
ต่อมาใน พ.ศ. 2469 ทางการได้พิจารณาจัดตั้งกองการบิน สังกัดกองทัพบกขึ้น ซึ่งภายหลังได้ยกฐานะเป็นกองทัพอากาศ พร้อมทั้งได้ขอพระราชทานเปลี่ยนชื่อจากดอนอีเหยี่ยวเป็น ดอนเมือง โดยอยู่ในฐานะตำบลดอนเมืองและต่อมาเป็นตำบลตลาดบางเขน อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร[2]
จนกระทั่งใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอบางเขนได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเขตบางเขน ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง
ภายหลังพื้นที่เขตบางเขนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กระทรวงมหาดไทยจึงได้รวมแขวงสีกัน แขวงทุ่งสองห้อง และแขวงตลาดบางเขนจัดตั้ง เขตดอนเมือง ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 จากนั้นก็ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตดอนเมืองและจัดตั้งเขตหลักสี่เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ทำให้แขวงตลาดบางเขนถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนที่แยกไปรวมกับเขตหลักสี่กับส่วนที่ยังอยู่ในเขตดอนเมือง ต่อมากรุงเทพมหานครจึงประกาศจัดตั้งแขวงสีกันเต็มพื้นที่เขตดอนเมือง โดยรวมพื้นที่แขวงตลาดบางเขนเดิมเข้าไว้ด้วยเพื่อความชัดเจนในการปกครอง
เนื่องด้วยยังไม่มีประกาศกำหนดแนวพื้นที่แขวงให้มีความชัดเจนแน่นอน ทำให้เกิดความสับสน แก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน กรุงเทพมหานครจึงเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสีกัน และตั้งแขวงดอนเมืองและแขวงสนามบินขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2552[3]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสีกัน และตั้งแขวงดอนเมือง แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง[4] โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตดอนเมืองแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
2. |
สีกัน | Si Kan | 11.534 |
63,264 |
5,485.00 |
|
4. |
ดอนเมือง | Don Mueang | 10.605 |
80,406 |
7,581.90
| |
5. |
สนามบิน | Sanambin | 14.664 |
22,271 |
1,518.75
| |
ทั้งหมด | 36.803 |
165,941 |
4,508.90
|
หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตหลักสี่
ประชากร
[แก้]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตดอนเมือง[5] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 218,362 | ไม่ทราบ |
2536 | 227,802 | +9,440 |
2537 | 233,390 | +5,588 |
2538 | 236,143 | +2,753 |
2539 | 247,111 | +10,968 |
2540 | 136,636 | แบ่งเขต |
2541 | 140,562 | +3,926 |
2542 | 143,737 | +3,175 |
2543 | 146,525 | +2,788 |
2544 | 150,914 | +4,389 |
2545 | 154,832 | +3,918 |
2546 | 157,643 | +2,811 |
2547 | 157,984 | +341 |
2548 | 159,506 | +1,512 |
2549 | 161,600 | +2,094 |
2550 | 163,080 | +1,480 |
2551 | 164,570 | +1,490 |
2552 | 165,433 | +863 |
2553 | 166,354 | +921 |
2554 | 166,210 | -144 |
2555 | 166,635 | +425 |
2556 | 167,827 | +1,192 |
2557 | 168,197 | +370 |
2558 | 168,278 | +81 |
2559 | 168,896 | +618 |
2560 | 168,973 | +77 |
2561 | 169,259 | +286 |
2562 | 170,021 | +762 |
2563 | 170,791 | +770 |
2564 | 167,921 | -2,870 |
2565 | 166,289 | -1,632 |
2566 | 165,941 | -348 |
การคมนาคม
[แก้]ในพื้นที่เขตดอนเมืองมีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่คลองถนนถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ บริษัทดอนเมืองพัฒนาจำกัด และแยกลำลูกกา (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- ถนนวิภาวดีรังสิต ตั้งแต่คลองวัดหลักสี่จนถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยากรุงเทพมหานครและหมู่บ้านวังทอง (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- ทางยกระดับอุตราภิมุข ตั้งแต่คลองวัดหลักสี่จนถึง อนุสรณ์สถานแห่งชาติ โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยากรุงเทพมหานครและหมู่บ้านวังทองสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนสรงประภา ตั้งแต่แยกวัดดอนเมืองจนถึงแยกศรีสมาน (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม ตั้งแต่คลองวัดหลักสี่จนถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ตั้งแต่คลองถนนถึงแยก คปอ. บริเวณตลาดเซฟวันโก
ถนนสายรองในพื้นที่ได้แก่
- ถนนกำแพงเพชร 6
- ถนนเชิดวุฒากาศ
- ถนนช่างอากาศอุทิศ
- ถนนเลียบคลองประปา
- ถนนสรณคมน์
- ถนนประชาอุทิศ
- ถนนโกสุมรวมใจ
- ถนนวัดเวฬุวนาราม
- ถนนนาวงประชาพัฒนา
- ถนนเดชะตุงคะ
- ถนนเทิดราชัน (เลียบคูนายกิม สาย 1)
- ถนนจันทรุเบกษา
- ถนนธูปเตมีย์
ทางน้ำมีคลองถนน คลองวัดหลักสี่ คลองเปรมประชากร คลองตาอูฐ
สถานศึกษา
[แก้]- โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา
- โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง
- โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง
- โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์
- โรงเรียนบริบูรณ์ศิลป์ศึกษา
- โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์)
- โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา
- โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์)
- โรงเรียนเปรมประชา (สายหยุด - เกษมสงเคราะห์)
- โรงเรียนพหลโยธิน (พ่วงเจริญอุปถัมภ์)
- โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ)
- โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม (สินทรัพย์เพ็ญ - สุวรรณอนุสรณ์)
- โรงเรียนธนินทรวิทยา
- วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง
สถานที่สำคัญ
[แก้]หน่วยงานราชการ
[แก้]ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง (ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานกรุงเทพ) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สนามบินดอนเมือง ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง 24 กิโลเมตร ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดศูนย์กลางทางการบินในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศไปยังจุดต่างๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการบินภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารตลอดจนพัสดุไปรษณียภัณฑ์ไปยังจุดอื่นๆ ได้อย่างดี
เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย–อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16-A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน
เริ่มมีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2495 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2495 ให้กระทรวงกลาโหมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การทหารของทั้ง 3 กองทัพขึ้น เพื่อจัดเป็นประวัติศาสตร์และแสดงวิวัฒนาการในทางการทหารของประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน
วัด
[แก้]มีจำนวน 7 แห่ง[6] ได้แก่
- วัดคลองบ้านใหม่ (สันติบุญมาราม)
- วัดพุทธสยาม (วัดสีกัน)
- วัดดอนเมือง
- วัดเวฬุวนาราม (วัดไผ่เขียว)
- วัดพรหมรังษี
- วัดสายอำพันธ์เอมสาร
- วัดเทพนิมิตต์
มีจำนวน 1 แห่ง ได้แก่
- วัดมารีย์สวรรค์ ดอนเมือง
ศาลเจ้า
[แก้]- ในคติศาสนาแบบประเพณีจีน
- ศาลเจ้าพ่อสมบุญ ตลาดฝั่งโขง
- ศาลเจ้าพ่อสมบุญ ตลาดใหม่ดอนเมือง
- ศาลเจ้าพ่อสมบูรณ์-เจ้าพ่อทงเทง
- ศาลเจ้าพ่อสมจิตต์
- ศาลเก่าเจ้าพ่อสมบูรณ์ ตรงข้ามโรงเรียนวัดดอนเมือง(ทหารอากาศอุทิศ)
- ศาลเจ้าแม่มาลัยทอง ถนนช่างอากาศอุทิศ
- ศาลเจ้าแม่วิฬาร์เทวี ซอยสรงประภา28
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 27 มกราคม 2567.
- ↑ 'ดอนเมือง' ชื่อนั้นสำคัญไฉน, "กับแกล้มการเมือง". คอลัมน์หน้า 9 เดลินิวส์ฉบับที่ 23,257: วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง
- ↑ ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงสีกัน และตั้งแขวงดอนเมือง แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/137/61.PDF
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
- ↑ https://webportal.bangkok.go.th/donmueang/page/sub/563/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95