ซุ
ฮิรางานะ |
คาตากานะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การถอดอักษร | su | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
+ดากูเต็ง | zu | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มังโยงานะ ของฮิรางานะ |
寸 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มังโยงานะ ของคาตากานะ |
須 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสเรียกขาน | すずめのス (ซุซุเมะ โนะ ซุ) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสมอร์ส | ---・- | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรเบรลล์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยูนิโคด | U+3059, U+30B9 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ซุ เป็นคะนะของภาษาญี่ปุ่นตัวหนึ่ง ฮิระงะนะเขียนว่า す มีที่มาจากตัวเขียนหวัดของมันโยงะนะ 寸 และคะตะกะนะเขียนว่า ス มีที่มาจากส่วนขวาล่างของมันโยงะนะ 須 ออกเสียงว่า เมื่อเติมดะกุเต็งจะออกเสียงว่า ชาวญี่ปุ่นอาจออกเสียงซุที่อยู่ท้ายคำหรือท้ายประโยคเป็น [s] โดยละเสียงสระเพื่อความสะดวกในการสนทนา
す เป็นอักษรลำดับที่ 13 อยู่ระหว่าง し (ชิ) กับ せ (เซะ) ในการจัดลำดับอักษรปัจจุบัน ส่วนการจัดลำดับแบบอิโระฮะ す เป็นอักษรลำดับที่ 47 อยู่ระหว่าง せ (เซะ) กับ ん (อึง) (ถ้านับ ん เป็นลำดับสุดท้ายด้วย)
รูปแบบ | โรมะจิ | ฮิระงะนะ | คะตะกะนะ | เสียงอ่าน | รูปแบบ | โรมะจิ | ฮิระงะนะ | คะตะกะนะ | เสียงอ่าน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ธรรมดา | su | す | ス | ซุ | ธรรมดา +ดะกุเต็ง |
zu | ず | ズ | ซุ |
sū, swu | すう, すぅ すー, す~ |
スウ, スゥ スー, ス~ |
ซู | zū, zwu | ずう, ずぅ ずー, ず~ |
ズウ, ズゥ ズー, ズ~ |
ซู | ||
ทวิอักษร | swa | すぁ, すゎ | スァ, スヮ | ซฺวะ | ทวิอักษร +ดะกุเต็ง |
zwa | ずぁ, ずゎ | ズァ, ズヮ | ซฺวะ |
swi, si | すぃ | スィ | ซฺวิ, ซิ | zwi, zi | ずぃ | ズィ | ซฺวิ, ซิ | ||
swe | すぇ | スェ | ซฺเวะ | zwe | ずぇ | ズェ | ซฺเวะ | ||
swo | すぉ | スォ | ซฺโวะ | zwo | ずぉ | ズォ | ซฺโวะ |
อักษรแบบอื่น
[แก้]ภาษาไอนุใช้คะตะกะนะขนาดเล็ก ㇲ เป็นพยัญชนะสะกด [s] เหมือนการสะกดด้วย -ซ แทนที่จะเป็นเสียงปรกติ [ɕ] อย่างไรก็ดี [s] และ [ɕ] เป็นหน่วยเสียงเดียวกัน [1]
อักขระ | ยูนิโคด | จิส เอกซ์ 0213[2] | ความหมาย |
---|---|---|---|
す | U+3059 | 1-4-25 | ฮิระงะนะ ซุ (su) |
ず | U+305A | 1-4-26 | ฮิระงะนะ ซุ (zu) |
ス | U+30B9 | 1-5-25 | คะตะกะนะ ซุ (su) |
ズ | U+30BA | 1-5-26 | คะตะกะนะ ซุ (zu) |
ㇲ | U+31F2 | 1-6-80 | คะตะกะนะ ซุ (su) ตัวเล็ก |
㋜ | U+32DC | 1-12-71 | คะตะกะนะ ซุ (su) ในวงกลม |
ス | U+FF7D | ไม่มี | คะตะกะนะ ซุ (su) ครึ่งความกว้าง |
ลำดับขีด
[แก้]ฮิระงะนะ す มีลำดับขีด 2 ขีดดังนี้
- ขีดเส้นนอนจากซ้ายไปขวา ในตำแหน่งกึ่งบน
- ขีดเส้นตั้งจากบนตัดกับเส้นแรก โดยค่อนไปทางขวาเล็กน้อย เมื่อถึงกึ่งกลางให้ม้วนเป็นเลข 9
คะตะกะนะ ス มีลำดับขีด 2 ขีดดังนี้
- ขีดเส้นนอนจากซ้ายไปขวาในตำแหน่งบน แล้วหักลงโค้งไปทางซ้าย
- ขีดเส้นเฉียงลงขวา โดยเริ่มจากกึ่งกลางโค้งของเส้นแรก
คันจิ
[แก้]ตัวอย่างคันจิที่อ่านว่าซุ และขึ้นต้นด้วยซุ มีดังนี้
- 笥 諏 須 酢 図 厨 逗 吹 垂 帥 推 水 炊 睡 粋 翠 衰 遂 酔 錐
- 錘 随 瑞 髄 崇 嵩 数 枢 趨 雛 据 杉 椙 菅 頗 雀 裾 澄 摺 寸
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Refsing, Kirsten (1996). Early European Writings on the Ainu Language. London: Routledge. ISBN 0-700-70400-0.
- ↑ JIS拡張漢字(JIS X 0213:2004)(全コード表) (ญี่ปุ่น)