[go: up one dir, main page]

TH8596A3 - ผลิตภัณฑ์กระจกเกรียบและกรรมวิธีการทำ - Google Patents

ผลิตภัณฑ์กระจกเกรียบและกรรมวิธีการทำ

Info

Publication number
TH8596A3
TH8596A3 TH803000218U TH0803000218U TH8596A3 TH 8596 A3 TH8596 A3 TH 8596A3 TH 803000218 U TH803000218 U TH 803000218U TH 0803000218 U TH0803000218 U TH 0803000218U TH 8596 A3 TH8596 A3 TH 8596A3
Authority
TH
Thailand
Prior art keywords
glass
oxide
weight
metal
coating
Prior art date
Application number
TH803000218U
Other languages
English (en)
Other versions
TH8596C3 (th
Inventor
ดร.พิศุทธิ์ ดารารัตน์ พันโท
Filing date
Publication date
Application filed filed Critical
Publication of TH8596C3 publication Critical patent/TH8596C3/th
Publication of TH8596A3 publication Critical patent/TH8596A3/th

Links

Abstract

DC60 (14/10/56) ผลิตภัณฑ์กระจกเกรียบใหม่ที่ได้ ประกอบด้วยส่วนแผ่นแก้วบางและส่วนเคลือบโลหะ ที่มีกรรมวิธีการทำ ประกอบด้วย ส่วนผสมเนื้อแก้ว, หลอมแก้ว, ขึ้นรูปเป็นแผ่นแก้วบาง และเคลือบผิวด้วยโลหะเงิน โดยส่วนแผ่น แก้วบางใช้วัตถุดิบตั้งต้นเป็นส่วนผสมเนื้อแก้วที่ประกอบด้วยซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) เลดออกไซด์ (PbO), โซเดียมออกไซด์ (Na2O), โปแตสเซียมออกไซด์ (K2O), อลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3), ซิงค์ออกไซด์ (ZnO), แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO), แคลเซียมออกไซด์ (CaO), และโบรอนออกไซด์ (B2O3) ซึ่งสีของเนื้อแก้วได้จากการ เพิ่มเติมส่วนผสมเนื้อแก้วด้วยโลหะทองคำเพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีแดง, คอบเปอร์ออกไซด์ (CuO) เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสี น้ำเงินอ่อน, โคบอลออกไซด์ (CoO) เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีน้ำเงินเข้ม, โครเมียมออกไซด์ (Cr2O3) เพื่อให้ได้เนื้อแก้ วสีเขียวอ่อน, คอปเปอร์ออกไซด์ (CuO) และไอรอนออกไซด์ (Fe2O3) เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีเขียวเข้ม, ไอรอน ออกไซด์ (Fe2O3) เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีเหลืองอำพัน และแมงกานีสออกไซด์ (MnO) เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีม่วงแดง ส่วนผสมเนื้อแก้วบรรจุในเบ้า ทำการหลอมด้วยเตาหลอม นำไปขึ้นรูปเป็นแผ่นบางด้วยวิธีการเป่า หรือการเทใน แม่แบบ และเคลือบผิวด้วยโลหะเงินด้วยวิธีการทางเคมีโดยการแช่ในสารละลายเงิน หรือวิธีการทางฟิสิกส์โดยการ ฉาบ หรือการระเหย ผลิตภัณฑ์กระจกเกรียบใหม่ที่ได้ ประกอบด้วยส่วนแผ่นแก้วบางและส่วนเคลือบโลหะ ที่มีกรรมวิธีการทำ ประกอบด้วย ส่วนผสมเนื้อแก้ว หลอมแก้ว ขึ้นรูปเป็นแผ่นแก้วบาง และเคลือบผิวด้วยโลหะเงิน โดยส่วนแผ่นแก้วบางใช้วัตถุดิบตั้งต้นเป็น ส่วนผสมเนื้อแก้วที่ประกอบด้วยซิลิกอนไดออกไซด์(SiO2)เลดออกไซด์(PbO)โซเดียมออกไซด์(Na2O)โปแตสเซียมออกไซด์(K2O)อลูมิเนียมออกไซด์(Al2O3)ซิงค์ออกไซด์(ZnO)แมกนีเซียมออกไซด์(MgO)แคลเซียมออกไซด์(CaO)โบรอนออกไซด์(B2O3) ซึ่งสีของเนื้อแก้วได้จากการเพิ่มเติมด้วยโลหะทองคำเพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีแดง คอบเปอร์ออกไซด์ เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีน้ำเงินอ่อน โคบอลออกไซด์ เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีน้ำเงินเข้ม โครเมียมออกไซด์ เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีเขียวอ่อน คอปเปอร์ออกไซด์และไอรอนออกไซด์ เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีเขียวเข้ม ไอรอนออกไซด์ เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีเหลืองอำพัน แมงกานีสออกไซด์ เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีม่วงแดง ส่วนผสมเนื้อแก้วบรรจุในเบ้า ทำการหลอมที่อุณหภูมิระหว่าง 800 ถึง 1,400 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการหลอมอยู่ระหว่าง 4 ถึง 14 ชั่วโมง เนื้อแก้วใสที่ได้ มีความหนาแน่นไม่น้อยกว่า 2.50 กรัมต่อลูกบาศก์เซนต์เมตร มีค่าดรรชนีหักเหไม่น้อยกว่า 1.52 และเนื้อแก้วใสสีได้จากการเติมธาตุหรือสารประกอบที่เป็นโลหะ และ/หรือโลหะออกไซด์ลงในส่วนผสมเนื้อแก้ว ได้แก่ โลหะทองคำ ทองแดงออกไซด์ โคบอลต์ออกไซด์ โครเมียมออกไซด์ เหล็กออกไซด์ และแมงกานีส ออกไซด์ การขึ้นรูปเป็นแผ่นแก้วทำได้โดยวิธีการเป่า ( Blowing) หรือการเท (Pouring) ลงในแม่แบบ (Mould) ที่ทำจากไม้ หรือโลหะ แผ่นแก้วมีความหนาระหว่าง 0.2 ถึง 2.0 มิลลิเมตร อบด้วยความร้อนที่อุณหภูมิระหว่าง 500 ถึง 800 องศาเซลเซียส การเคลือบผิวด้วยโลหะเงิน ทำได้โดยวิธีการทางเคมี (Chemical process) โดยที่แผ่นแก้วที่ผ่านการ ทำความสะอาดด้วยผงดีบุกออกไซด์ ถูกแช่ลงในสารละลายเงิน ล้างด้วยน้ำสะอาด ปล่อยให้แห้ง และวิธีการ ทางฟิสิกส์ (Physical process) โดยที่แผ่นแก้วที่ผ่านการทำความสะอาดด้วยผงดีบุกออกไซด์ ถูกเคลือบผิว ด้วยกระบวนการสพัทเทอะริง (Sputtering) หรือ อิแวพพะเรชัน (Evaporation) แล้วทำการเคลือบผิวทับอีกครั้ง ด้วยสีเคลือบโดยวิธีการพ่นสีสเปรย์ หรือการทาสีทับ

Claims (3)

1. ผลิตภัณฑ์กระจกเกรียบ ประกอบด้วยส่วนแผ่นแก้วบางและส่วนเคลือบโลหะ โดยส่วนแผ่นแก้วบางเป็นส่วนผสมเนื้อแก้ว ประกอบด้วย ซิลิกอนไดออกไซด์(SiO2) 40-65 % โดยน้ำหนัก เลดออกไซด์(PbO) 10-40 % โดยน้ำหนัก โซเดียมออกไซด์(Na2O) 5-15 % โดยน้ำหนัก โปแตสเซียมออกไซด์(K2O) 5-15 % โดยน้ำหนัก อลูมิเนียมออกไซด์(Al2O3) 0.5-2 % โดยน้ำหนัก ซิงค์ออกไซด์(ZnO) 0.1-1 % โดยน้ำหนัก แมกนีเซียมออกไซด์(MgO) 1-5 % โดยน้ำหนัก แคลเซียมออกไซด์(CaO) 5-10 % โดยน้ำหนัก โบรอนออกไซด์(B2O3) 5-10 % โดยน้ำหนัก และส่วนเคลือบโลหะเป้นเคลือบโลหะเงินที่เกิดจากวิธีการทางเคมีโดยการแช่ลงในสารสะลายเงิน หรือวิธีทางฟิสิกส์ โดยกระบวนการฉาบด้วยโลหะ(Sputtering)หรือการระเหย(Evaporation)แล้วเคลือบผิวทับอีกชั้นด้วยสีเคลือบ
2. ผลิตภัณฑ์กระจกเกรียบ ตามข้อถือสิทธิ 1 ประกอบเพิ่มเติมด้วย โลหะทองคำ 0.2-0.5 %โดยน้ำหนัก เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีแดง คอบเปอร์ออกไซด์ 0.1-1.0 % โดยน้ำหนัก เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีน้ำเงินอ่อน โคบอลออกไซด์ 0.5-1.0 % โดยน้ำหนัก เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีน้ำเงินเข้ม โครเมียมออกไซด์ 0.5-2.0 % โดยน้ำหนัก เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีเขียวอ่อน คอปเปอร์ออกไซด์และไอรอนออกไซด์ อัตราส่วน 2:1 โดยคอปเปอร์ออกไซด์ 2.0-5.0 % โดยน้ำหนัก ไอรอนออกไซด์ 4.0-10.0 % โดยน้ำหนัก เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีเขียวเข้ม ไอรอนออกไซด์ 2.0-5.0 % โดยน้ำหนัก เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีเหลืองอำพัน แมงกานีสออกไซด์ 2.5-5.0 % โดยน้ำหนัก เพื่อให้ได้เนื้อแก้วสีม่วงแดง
3.กรรมวิธีการทำกระจกเกรียบ ตามข้อถือสิทธิ 1 หรือ 2 มีขั้นตอนดังนี้ 3.1 ผสมเนื้อแก้ว 3.2 หลอมแก้ว 3.3 การขึ้นรูปเป็นแผ่นแก้วทำได้โดยวิธีการเป่า (Blowing) หรือการเท (Pourhig) ลงในแม่แบบ (Mould) ที่ทำจากไม้ หรือโลหะ แผ่นแก้วมีความหนาระหว่าง 0.2 ถึง 2.0 มิลลิเมตร อบด้วยความร้อนที่ อุณหภูมิระหว่าง 500 ถึง 800 องศาเซลเซียส 3.4 การเคลือบผิวแก้วด้วยโลหะเงิน ก่อนการเคลือบ ผิวแก้วด้านที่ต้องการเคลือบถูกทำความ สะอาดโดยการใช้ดีบุกออกไซด์ ทำการเคลือบผิวโดย 3.4.1 วิธีการทางเคมี (Chemical process) โดยแผ่นแก้วที่ผ่านการทำความสะอาด ถูกแช่ลงใน สารละลายเงิน ระยะเวลาระหว่าง 10 ถึง 60 นาที ล้างด้วยน้ำสะอาด ปล่อยให้แห้ง และเคลือบผิวทับอีกครั้ง ด้วยสีเคลือบ 3.4.2 การเคลือบโดยวิธีการทางฟิสิกส์ แผ่นแก้วที่ผ่านการทำความสะอาด ถูกเคลือบผิวด้วย กระบวนการสพัทเทอะริง (Sputtering) หรือ อิแวพพะเรชัน (Evaporation) และเคลือบผิวทับอีกครั้งด้วยสี เคลือบ การเคลือบทับด้วยสีเคลือบทำได้โดยวิธีการพ่นสเปรย์ หรือการทาทับ ลงบนผิวแก้วที่ได้
TH803000218U 2008-02-20 ผลิตภัณฑ์กระจกเกรียบและกรรมวิธีการทำ TH8596A3 (th)

Publications (2)

Publication Number Publication Date
TH8596C3 TH8596C3 (th) 2014-01-06
TH8596A3 true TH8596A3 (th) 2014-01-06

Family

ID=

Similar Documents

Publication Publication Date Title
US4892847A (en) Lead-free glass frit compositions
CN102070357B (zh) 一种金红天目窑变花釉西餐餐具的制备方法
CN111517649A (zh) 抗菌釉粉、抗菌岩板及其制备方法
JPS6238305B2 (th)
CN102153336B (zh) 可用于制成瓷质产品的耐热瓷泥及用其制成的耐热瓷
JP2024509250A (ja) 多彩な流雲表面装飾効果のある陶磁器プレートの製造方法
CN106232540A (zh) 玻璃组合物、化学强化用玻璃板、强化玻璃板和显示器用强化玻璃基板
CN111847877B (zh) 一种金属干粒釉料、金属光泽瓷砖及其制备方法
FI113962B (fi) Lämpöstabiilit ja kemikaaleja kestävät lasit
JP2014201477A (ja) 陶磁器用低融点無鉛ガラス組成物
CN108191239A (zh) 一种无铅金属光泽金色釉及其制备方法
CN115893844B (zh) 一种超平滑陶瓷釉的制备方法
US2786782A (en) Enameling ground-coat composition and process of application thereof
CN102352143B (zh) 降低铂铑合金漏板损耗的玻璃涂层及涂膜工艺
CN107382067B (zh) 铜锈釉及用其制备的铜锈釉陶瓷制品及制备方法
US3383225A (en) Acid-resistant enamels
KR101911408B1 (ko) 도자기 표면을 갖는 법랑 제품의 제조방법
CN111908792B (zh) 一种金属釉的釉料混合物、金属釉制品及其制备工艺
TH8596A3 (th) ผลิตภัณฑ์กระจกเกรียบและกรรมวิธีการทำ
TH8596C3 (th) ผลิตภัณฑ์กระจกเกรียบและกรรมวิธีการทำ
JP2628011B2 (ja) 淡紅色ホウケイ酸塩ガラスおよびその製造方法
CN106631172A (zh) 具有金属光泽的银色釉及其制备方法
JPH09263423A (ja) 抗菌性を有するほうろう釉薬
KR102607010B1 (ko) 클로올링황토와 갯벌토 이용한 세라믹 시유제 조성물
MXPA02003747A (es) Revestimientos de esmalte de porcelana resistentes al agua y metodo para fabricar los mismos.