[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

นา

จาก วิกิพจนานุกรม พจนานุกรมเสรี
ดูเพิ่ม: นำ, น่า, น้า, และ น้ำ

ภาษาไทย

[แก้ไข]
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
(1) นา

การออกเสียง

[แก้ไข]
การแบ่งพยางค์นา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงnaa
ราชบัณฑิตยสภาna
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/naː˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

[แก้ไข]

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *naːᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨶᩣ (นา), ภาษาลาว ນາ (นา), ภาษาไทลื้อ ᦓᦱ (นา), ภาษาไทดำ ꪙꪱ (นา), ภาษาไทขาว ꪙꪱ, ภาษาตั่ย , ภาษาไทใหญ่ ၼႃး (น๊า), ภาษาไทใต้คง ᥘᥣᥰ (ล๊า) หรือ ᥢᥣᥰ (น๊า), ภาษาอ่ายตน ꩫႃ (นา), ภาษาพ่าเก ꩫႃ (นา), ภาษาอาหม 𑜃𑜠 (นะ) หรือ 𑜃𑜡 (นา), ภาษาจ้วง naz, ภาษาปู้อี naz; เทียบภาษาเบดั้งเดิม *niaᴬ², ภาษาไหลดั้งเดิม *hnaːɦ (นา; คันนา)

คำนาม

[แก้ไข]

นา

  1. พื้นที่ราบทำเป็นคันกั้นน้ำเป็นแปลง ๆ สำหรับปลูกข้าวเป็นต้น
  2. พื้นที่มีลักษณะคล้ายนาสำหรับทำประโยชน์อื่น ๆ เรียกตามสิ่งที่ทำ เช่น นาเกลือ นากุ้ง นาผักกระเฉด
  3. ใช้ประกอบกับคำอื่นที่เกิดหรือเกี่ยวข้องกับนา เช่น เต่านา ปูนา
  4. (เลิกใช้) ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงจัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร ดูแลทุกข์สุขของชาวไร่ชาวนา
  5. (ร้อยกรอง) อวัยวะเพศหญิง
    นาดีดีต้องใช้ข้าวปลูกพันธุ์ดี ถ้าปลูกไม่ดีก็ทำให้เสียที่นา
    (เพลง รักกับพี่ดีแน่)
    นาน้องทำไมหญ้ารก หญ้าปรกเสียจนเป็นป่า พี่จะมาช่วยไถ เอาไหมนะจ๊ะแก้วตา
    (เพลง รักเลี่ยมทอง)
ลูกคำ
[แก้ไข]
คำแปลภาษาอื่น
[แก้ไข]

รากศัพท์ 2

[แก้ไข]

เกี่ยวข้องกับคำว่า นะ

คำอนุภาค

[แก้ไข]

นา

  1. (ภาษาหนังสือ) มักใช้ประกอบท้ายคำบทร้อยกรองให้มีความกระชับหรือสละสลวยขึ้น
    แลนา

ภาษาเขมรเหนือ

[แก้ไข]

รากศัพท์

[แก้ไข]

เทียบภาษาเขมร ណា (ณา), អ៊ីណា (อ̰ีณา), អីណា (อีณา), ឯណា (เอณา)

การออกเสียง

[แก้ไข]

คำสรรพนาม

[แก้ไข]

นา

  1. ไหน, ใด