ผู่เจี๋ย
ผู่เจี๋ย | |
---|---|
อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่เจี๋ย | |
เจ้าชายจีน เจ้าชายแห่งแมนจู | |
ประสูติ | 16 เมษายน ค.ศ. 1907 ตำหนักฉุนจิ้นอ๋อง กรุงปักกิ่ง |
สิ้นพระชนม์ | 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1994 กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (86 ปี) |
พระชายา | เจ้าหญิงถัง ฉือเสีย ฮิโระ ซางะ |
พระราชบุตร | เจ้าหญิงฮุ่ยเฉิง เจ้าหญิงหยุนเฉิง |
ราชวงศ์ | ชิง |
พระบิดา | ฉุนจิ้นอ๋องไจ้เฟิง |
พระมารดา | โยวหลัน |
อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่เจี๋ย (จีนตัวย่อ: 爱新觉罗 溥杰; จีนตัวเต็ม: 愛新覺羅 溥傑; พินอิน: Àixīnjuéluó Pǔjié ญี่ปุ่น: 愛新覚羅 溥傑 Aishinkakura Fuketsu) เกิดในราชสกุลอ้ายซินเจว๋หลัวเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2450 และเสียชีวิตในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 เป็นพระอนุชาในจักรพรรดิผู่อี๋ ผู้ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน[1]
พระประวัติ
[แก้]ชีวิตแรกเริ่ม
[แก้]ผู่เจี๋ย เป็นพระโอรสในเจ้าชายไจ้เฟิงกับโยวหลัน ขณะยังเป็นเด็ก เขาย้ายมาอยู่พระราชวังต้องห้ามในปักกิ่ง เพื่อเป็นเพื่อนเล่นของผู่อี๋ มีเหตุการณ์อันเป็นที่รู้จักกันดีคือผู่อี๋กรี้วเมื่อทอดพระเนตรพบเสื้อข้างในของผู่เจี๋ยเป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นสีเฉพาะของจักรพรรดิ[2]
ในปี พ.ศ. 2472 ผู่เจี๋ยได้ทรงเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อไปศึกษาต่อ พระองค์สำเร็จการศึกษาที่กะคุชูอินและสามารถตรัสภาษาญี่ปุ่นได้อย่างคล่องแคล่ว และได้เสด็จไปที่วิทยาลัยกองทัพจักวรรดิญี่ปุ่นเพื่อศึกษาต่อ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2478
ผู่เจี๋ยสมรสครั้งแรกในปี พ.ศ. 2467 กับเจ้าหญิงแห่งแมนจู ถัง ฉือเสีย (จีน: 唐石霞; พินอิน: Táng Shíxiá; Tung Shih-hsia) พระนัดดา (หลานสาว) ในพระมเหสีเค่อชุ่น(เจินหวงกุ้ยเฟย์) และพระอัครชายาจิ่นเฟย์ในฮ่องเต้กวังซวี่ แต่หนีจากพระชายาหลังจากไปที่ญี่ปุ่นเพื่อศึกษาต่อ ชีวิตสมรสนั้นได้สิ้นสุดลง หลังจากสำเร็จการศึกษาที่วิทยาลัยกองทัพจักวรรดิญี่ปุ่น ผู่เจี๋ยทรงตกลงเลือกภรรยา (โอมิไอ) กับสตรีชั้นสูงของญี่ปุ่นซึ่งก็คือเจ้าหญิงฮิโระ ซากะ (พ.ศ. 2454-พ.ศ. 2530) ซึ่งทรงเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กับราชตระกูลญี่ปุ่น จากรูปและจากจำนวนผู้สมัครซึ่งได้ผ่านการประเมินโดยกองทัพคันโต[3] ขณะที่ผู่อี๋ยังไม่มีทายาทชาย การแต่งงานนั้นมีความแข็งแกร่งเกี่ยวกับการแสดงออกโดยนัยการเมือง และถูกมุ่งหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง สายเลือดญี่ปุ่น กับ ราชตระกูลแมนจูกัว
พิธีหมั้นจัดขึ้นที่สถานทูตประเทศแมนจูที่โตเกียวในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 และพิธีเสกสมรสจัดขึ้นที่โถงกองทัพจักรวรรดิที่ คุดันซะกะ โตเกียว ในวันที่ 3 เมษายน ในเดือนตุลาคมทั้งคู่ก็ย้ายไปที่ซิงกิง (ปัจจุบันคือฉางชุน) เมืองหลวงของแมนจูกัว ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิผู่อี๋ หลังการล่มสลายของราชวงศ์ชิง
ประเทศแมนจู
[แก้]เนื่องจากจักรพรรดิผู่อี๋ไม่มีพระราชโอรส ผู่เจี๋ยซึ่งเป็นน้องชายจึงหวังที่จะได้ครองราชบัลลังก์แมนจูต่อจากพี่ชาย ขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นเองก็สนับสนุนผู่เจี๋ยเป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ แต่อย่างไรก็ตาม ผู่อี๋ไม่ต้องการให้ผู่เจี๋ยเป็นทายาทราชวงศ์ชิง อันเป็นธรรมเนียมตามราชประเพณีที่ว่า จักรพรรดิซึ่งไม่มีโอรสนั้นควรเลือกทายาทของตนจากรุ่นหนึ่งในครอบครัว ขณะประทับที่แมนจูนั้น ผู่เจี๋ยมีตำแหน่งเป็นสมุหราชองค์รักษ์กิตติมศักดิ์แห่งแมนจู แต่พระองค์ทรงกลับไปที่ญี่ปุ่นกะทันหันในปีพ.ศ. 2487 เพื่อเข้าศึกษาที่วิทยาลัยเสนาธิการกองทัพ
ในช่วงที่แมนจูกัวล่มสลายเมื่อโซเวียตรุกรานประเทศแมนจูในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 ตอนแรกผู่เจี๋ยทรงพยายามลี้ภัยออกจากญี่ปุ่นกับพี่ชาย แต่ยังไรก็ตาม กลายเป็นอย่างที่ชัดเจนเมื่อไม่มีทางลี้ภัย พระองค์ทรงตัดสินใจที่จะกลับซิงกิงด้วยความไม่ประสบความสำเร็จที่จะออกจากเมืองไปที่กองกำลังก๊กมิงตั๋งของสาธารณรัฐจีน แน่นอนว่าเมืองนี้ตกเป็นของโซเวียต
ผู่เจี๋ยถูกจับกุมโดยกองทัพโซเวียต และถูกส่งไปที่คุกในชิตะและคาเยอรอฟก์ในไซบีเรียกับพี่ชายและเชื้อพระวงศ์ ด้วยการบรรลุข้อตกลงของจีน-โซเวียตหลังจากการตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู่เจี๋ยถูกส่งให้ทางการจีนไปรับโทษในปี พ.ศ. 2493
ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน
[แก้]ในการกลับมาจีน ผู่เจี๋ยถูกคุมขังที่ศูนย์บริหารที่เกี่ยวกับอาชญากรฟูชุน เขาเป็นนักโทษต้นแบบและกลายเป็นสัญลักษณ์ของการผ่อนผันการรับโทษในระบบการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ เขาได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนและภายหลังได้ทำงานในหน้าที่ที่ไปประจำอยู่ ในปีพ.ศ. 2504 เขาพ้นโทษและอาศัยอยู่กับเจ้าหญิงฮิโระ ซางะ ในบั้นปลายชีวิต เจ้าหญิงฮิโระ ซางะ สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2530 จากนั้นอีก 7 ปี ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ผู่เจี๋ยก็เสียชีวิตขณะอายุ 86 ปี
ลูกหลาน
[แก้]ผู่เจี๋ยมีลูกสาว 2 คน
- เจ้าหญิง อ้ายซินเจว๋หลัว ฮัวเชิง 慧生 เกิดที่ ซิงกิงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 และศึกษาที่มหาวิทยาลัยกาคูชูอิน เธอถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2500 แต่ปรากฏว่าเธอฆ่าตัวตาย
- เจ้าหญิง อ้ายซินเจว๋หลัว ยุนเชิง 嫮生 เกิดปี พ.ศ. 2484 ศึกษาที่มหาวิทยาลัยหญิงกาคูชูอิน ได้แต่งงานกับ โคเซอิ ฟูกูนากะ อดีตพนักงานผลิตโทรศัพท์มือถือแห่งหนึ่ง ปัจจุบันมีลูก 5 คน
วงศ์ตระกูล
[แก้]8. พระปัยกา (ทวด) : สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง | ||||||||||||||||
4. พระอัยกา: เจ้าชายชุนที่ 1 | ||||||||||||||||
9. พระปัยยิกา (ทวด) : พระสนมหลิน | ||||||||||||||||
2. พระราชบิดา: เจ้าชายชุนที่ 2 | ||||||||||||||||
5. พระอัยยิกา: นางหลิงหิยา | ||||||||||||||||
1. ผู่เจี๋ย | ||||||||||||||||
6. พระอัยกา: ยงลู่ | ||||||||||||||||
3. พระราชมารดา: โยวหลัน | ||||||||||||||||
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Pu Jie, 87, Dies, Ending Dynasty Of the Manchus". The New York Times. Associated Press. 2 March 1994. สืบค้นเมื่อ 9 January 2023.
- ↑ Cotter, Kids Who Rule, pp.76
- ↑ Lebra, Above the Clouds pp.213
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "The Last Emperor's Brother HUKETSU" (Chiba Prefecture, Japan's English-language page)
- Information about TV Asahi's (Japan) Autumn 2003 dramatization of Pujie and Lady Saga Hiro's marriage, Ryuuten no ouhi – Saigo no koutei (流転の王妃・最後の皇弟) เก็บถาวร 2023-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | ผู่เจี๋ย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อ้ายซินเจว๋หลัว ผู่อี๋ | ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จีน และประมุขแห่งราชตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว (ค.ศ. 1967-1994) |
ยวี่เหยียน |