กูเกิล
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ประเภท | บริษัทย่อย |
---|---|
อุตสาหกรรม | อินเทอร์เน็ต |
ก่อตั้ง | 4 กันยายน พ.ศ. 2541[1] เมนโลพาร์ก, รัฐแคลิฟอร์เนีย |
ผู้ก่อตั้ง | |
สำนักงานใหญ่ | กูเกิลเพล็กซ์, เมาน์เทนวิว, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา |
บุคลากรหลัก | สุนทร ปิจาอี (ประธานบริหาร) |
รายได้ | US$ 46,173 ล้าน (2563) [2] |
รายได้จากการดำเนินงาน | US$11,213 ล้าน (2563)[2] |
รายได้สุทธิ | US$11,247 ล้าน (2563)[2] |
สินทรัพย์ | US$131.133 พันล้าน (2557)[3] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | US$104.5 พันล้าน (2557)[3] |
พนักงาน | 132,121 (ไตรมาสที่ 3 ปี 2020)[4] |
บริษัทแม่ | แอลฟาเบต |
เว็บไซต์ | www.google.com www.google.co.th |
กูเกิล (อังกฤษ: Google LLC; เป็นบริษัทย่อยอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม พ.ศ. 2550) [ต้องการอ้างอิง] โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) [6][7][8]
กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย [9] และมีการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา เช่น กูเกิล ดีปไมด์ รวมถึงก่อตั้งบริษัทลูกอย่างกูเกิล เอกซ์กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน[10] ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน
วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558 แลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน สองผู้ก่อตั้งกูเกิล ได้ตั้งบริษัทใหม่ชื่อ "แอลฟาเบต" (Alphabet) โดยมีแผนจะใช้บริษัทนี้เป็นบริษัทแม่แทน และลดขนาดองค์กรกูเกิลลงเพื่อความคล่องตัวทางธุรกิจ[11][12] ต่อมาวันที่ 1 กันยายน ปีเดียวกัน กูเกิลได้เปลี่ยนโลโก้บริษัทใหม่[13][14]
ประวัติ
ช่วงแรก
กูเกิลเปิดตัวในเดือนมกราคม 2539 ซึ่งเป็นโปรเจ็ควิจัยของ แลร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่พวกเขาทั้งคู่เรียนปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย[15] อันที่จริงงานโปรเจ็ควิจัยชิ้นมีผู้ร่วมก่อตั้งสามคน , สก็อต ฮัตตสัน เป็นโปรแกรมเมอร์ผู้เขียนโค๊ดให้แก่กูเกิลเอินจิน แต่เขาได้ออกจากกูเกิลก่อนที่กูเกิลจะกลายเป็นบริษัท ต่อมาฮัตสันได้เปิดบริษัท Willow Garage ในปี 2549 ซึ่งเป็นบริษัทวิทยาการด้านหุ่นยนต์
โครงการรณรงค์
กูเกิล ร่วมรณรงค์กิจกรรมการปิดไฟ กับโครงการเอิร์ธ อาวเออร์ (Earth Hour) ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund : WWF) ด้วยการปรับหน้าเว็บเพจเป็นสีดำพร้อมข้อความว่า "เราปิดไฟแล้ว ต่อไปตาคุณ" (We've turned the lights out. Now it's your turn.) ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551[16]
"Google" ชื่อ "Google" มาจากคำว่า "googol" ซึ่งหมายถึงจำนวนทางคณิตศาสตร์ที่หมายถึงเลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 อีกหนึ่งร้อยตัว หรือ 10100 เพื่อเป็นการแสดงถึงเป้าหมายของบริษัทที่จะจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล อีกกระแสหนึ่งบอกว่าชื่อ Google มาจากความผิดพลาดในการจดโดเมนเนมในช่วงก่อตั้ง
ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 กูเกิลชนะความในศาล ในคดีที่มีบริษัทอื่นตั้งชื่อใกล้เคียง ได้แก่ googkle.com ghoogle.com และ gooigle.com เพื่อเรียกให้คนอื่นเข้าเว็บไซต์ของตน ทำให้เกิดความเสียหายกับชื่อเสียงของกูเกิล
ผลิตภัณฑ์ของกูเกิล
ซอฟต์แวร์เดสก์ทอป
ซอฟต์แวร์ของกูเกิล จะเป็นซอฟต์แวร์ให้ดาวน์โหลดใช้งานฟรี และทำงานผ่านระบบของกูเกิล
- กูเกิล ทอล์ก
- ทอล์ก (Google Talk) ซอฟต์แวร์เมสเซนเจอร์และวีโอไอพี
- กูเกิล เอิร์ธ
- เอิร์ธ (Google Earth) ซอฟต์แวร์ดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ ภูมิประเทศของแต่ละประเทศ ของโลก
- ปีกาซา
- ปีกาซา (Picasa) ซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานคู่กับเว็บไซต์ปีกาซา
- กูเกิล แพ็ก
- แพ็ก (Google Pack) เป็นชุดซอฟต์แวร์พร้อมดาวน์โหลด ประกอบด้วย โปรแกรมของกูเกิลเองได้แก่ เดสก์ท็อป ปีกาซา ทูลบาร์ โฟโต้สกรีนเซฟเวอร์ เอิร์ธ ทอร์ก วิดีโอเพลย์เยอร์ และโปรแกรมอื่นรวมถึง ไฟร์ฟอกซ์ สตาร์ออฟฟิศ อะโดบี รีดเดอร์ สไกป์
- กูเกิล โครม
- โครม (Google Chrome) ซอฟต์แวร์เบราว์เซอร์
- สเก็ตช์อัป
- สเก็ตช์อัป (SketchUp) ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพสเก็ตช์ และภาพ 3 มิติ
- กูเกิล สกาย แมพ
- สกาย แมพ (Google sky map) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ดู แผนที่ดาว ตำแหน่งดาวเคราห์ และ ดาวฤกษ์ ของ กาแล็กซี่ต่างๆๆ
- กูเกิล แมพ
- แมพ (Google Map) ซอฟต์แวร์สำหรับค้นหาแผนที่บนโลก
ด้านเอกสาร
- กูเกิล เอกสาร
- เอกสาร (Google Docs ) ซอฟต์แวร์ที่ใช้เกี่ยวกับ การเก็บข้อมูล ภาพ ข้อมูล เหมือนกับ Microsoft word
- กูเกิล ชีต
- ชีต (Google Sheet) ซอฟต์แวร์ ที่ใช้เกี่ยวกับ การทำข้อมูล กราฟเส้น ต่างๆๆ เหมือนกับ Microsoft Excel
- กูเกิล สไลด์
- สไลด์ (Google Slides) ซอฟแวร์ ที่ใช้เกี่ยวกับ การนำเสนอ ข้อมูล ความรู้ เหมือนกับ Microsoft power point
- กูเกิล คิป
- คิป (Google Keep) ซอฟแวร์ ที่ใช้เกี่ยวกับ การจดบันทึก สิ่งต่างๆๆหรือสิ่งสำคัญ ซึ่งเหมือนการเก็บข้อมูลใน สมุด หรือ ไดอารี่
บริการบนอินเทอร์เน็ต
ชื่อ | ชื่ออังกฤษ | รายละเอียดย่อ | อ้างอิง |
---|---|---|---|
กูเกิล เสิร์ช | Google Search | เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มีให้บริการมากกว่า 100 ภาษา | google.com |
กูเกิล กรุ๊ปส์ | Google Groups | บริการเว็บบอร์ด และสร้างเว็บไซต์ของกลุ่ม | http://groups.google.com |
กูเกิล ค้นหารูปภาพ | Google Image Search | บริการค้นหารูปภาพออนไลน์ | http://images.google.com/ |
กูเกิล แคเลนเดอร์ | Google Calendar | บริการปฏิทินและจดวันนัดหมาย | http://www.google.com/calendar/ |
จีเมล | Gmail | บริการอีเมล | http://www.gmail.com |
กูเกิล ไซต์ไกสต์ | Google Zeitgeist | บริการเปิดให้ดูคำค้นหา คำนิยม รูปแบบ และแนวโน้มในการค้นหาผ่านกูเกิลเสิร์ช | http://www.google.com/press/zeitgeist.html เก็บถาวร 2008-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
กูเกิล ด็อกส์ | Google Docs | บริการใช้งานซอฟต์แวร์สำนักงานรวมถึง เวิร์ด สเปรดชีต พรีเซนเตชัน ให้ผู้ใช้สามารถได้ฟรีออนไลน์ โดยเพิ่มเติมความสามารถในการแชร์และให้ผู้ใช้หลายคนสามารถแก้ไขไฟล์เดียวกันพร้อมกันได้โดยผู้ใช้ [17] โดยเริ่มพัฒนาจากซอฟต์แวร์ ไรต์รี (Writely) และ กูเกิล สเปรดชีตส์ (Google Spreadsheet) เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2550 | http://docs.google.com/ |
กูเกิล ทรานซเลต | Google Translate | บริการแปลข้อความผ่านเว็บไซต์ รวมถึงแปลเว็บไซต์ทั้งหน้า | http://translate.google.com/ |
บล็อกเกอร์ | Blogger | บริการเขียนบล็อก | http://www.blogger.com |
กูเกิล บล็อกเสิร์ช | Blog Search | บริการค้นหาบล็อก | http://blogsearch.google.com/ เก็บถาวร 2011-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
ปีกาซา | Picasa | เว็บไซต์เก็บภาพ ใช้งานคู่กับซอฟต์แวร์ปีกาซา | http://picasaweb.google.com/ |
กูเกิล เพจ | Google Page | บริการสร้างเว็บไซต์ | http://pages.google.com/ เก็บถาวร 2011-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
กูเกิล โน้ตบุ๊ก | Google Notebok | บริการสมุดบันทึกออนไลน์ | http://www.google.com/notebook |
กูเกิล แมปส์ | Google Maps | บริการแผนที่ ค้นหาที่อยู่ ค้นหาธุรกิจและร้านอาหาร | http://maps.google.com/ |
ยูทูบ | YouTube | บริการแชร์วิดีโอ | http://www.youtube.com/ |
กูเกิล วิดีโอ | Google Video | บริการค้นหาวิดีโอออนไลน์ | http://video.google.com/ |
กูเกิล เว็บมาสเตอร์ | Google Webmaster | ให้บริการเครื่องมือสำหรับเว็บมาสเตอร์ ตรวจสอบเว็บไซต์ ค้นหาดัชนีการค้นหาผ่านกูเกิล ตรวจสอบโรบอตไฟล์ | [1] |
กูเกิล สกอลาร์ | Google Scholar | บริการค้นหาวารสาร หนังสือ สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ | http://scholar.google.com/ |
กูเกิล สกาย | Google Sky | ดูดาว และระบบสุริยะจักรวาลผ่านเว็บไซต์ | http://www.google.com/sky/ |
กูเกิล สารบบเว็บ | Google Directory | ค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ ข้อมูลจาก ดีมอซ | http://directory.google.com/ เก็บถาวร 2011-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
ออร์กัต | Orkut | เครือข่ายสังคมออนไลน์ลักษณะคล้ายกับ ไฮไฟฟ์ และเฟซบุ้ก ออกแบบโดยวิศวกรกูเกิลชาวตุรกี ออร์กัต บือยืกเคิกเทน (Orkut Büyükkökten) เปิดใช้งานเมื่อ มกราคม 2547 | http://www.orkut.com/ |
กูเกิล แอดเซนส์ | Google AdSense | ให้บริการโค้ดสำหรับติดตั้งโฆษณาบนเว็บไซต์ ทำงานคู่กับแอดเวิรดส์ | |
กูเกิล แอดเวิรดส์ | Google AdWords | บริการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ที่ติดตั้งแอดเซนส์ | http://adwords.google.com/ |
กูเกิล แอนะลิติกส์ | Google Analytics | บริการนับสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ พร้อมระบบวิเคราะห์ผู้ใช้งาน | http://www.google.com/analytics/ |
กูเกิล เพลย์ | Google Play | บริการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการของกูเกิลผ่านทางชื่อโดเมนส่วนตัว โดยแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้เช่น จีเมล แคเลนเดอร์ ทอล์ก ด็อกส์ โดยมีการให้บริการทั้งฟรีและเสียเงิน | https://play.google.com/store |
ไอกูเกิล | iGoogle | ในชื่อเดิม เพอร์เซอนอลไลส์ ให้บริการทำหน้าเริ่มต้นในการเข้าชมเว็บไซต์ โดยสามารถนำเว็บฟีดและแก็ดเจ็ต จากเว็บอื่นมารวมได้ | http://www.google.com/ig |
กูเกิลกูรู | Google guru | เชิญให้สมาชิก Gmail เข้ามาตั้งคำถามและตอบคำถามได้ โดยมีคะแนนที่ทางกูเกิลให้เมื่อเข้ามาที่กูเกิล สามารถใช้ตั้งคำถามได้ เป็นเวอร์ชันทดลองให้ไปลองใช้กัน พบแต่ในประเทศไทยเท่านั้น (ปัจจุบันปิดใช้งานแล้ว) | http://guru.google.co.th[ลิงก์เสีย] |
กูเกิล พลัส | Google Plus | เครือข่ายสังคมออนไลน์ล่าสุดจากกูเกิล (เปิดตัวในวันที่ 28 มิ.ย. 2554 โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้งานให้ทดลองใช้เฉพาะผู้ที่มี invite หลังจากนั้นวันที่ 20 ก.ย. 2554 ก็เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ใช้งานโดยไม่ต้องมี invite)(ปิดใช้งานภายในเดือนเมษายน 2562[18] | http://plus.google.com/ |
กูเกิล มิวสิก | Google Music | บริการฟังเพลง-ดาวน์โหลดเพลงออนไลน์จากกูเกิล ในเบื้องต้นเปิดใช้เป็นทางการเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา | http://music.google.com[ลิงก์เสีย] |
สตาเดีย | Stadia | บริการเกมออนไลน์ที่เล่นเกมผ่านเกมคลาวด์โดยใช้โครมเป็นตัวเล่นbeta | https://www.stadia.com ,https://www.stadia.dev |
โดยบริการที่อยู่ในขั้นทดลอง จะเปิดให้ใช้งานโดยจะมีคำว่า "Beta" อยู่ภายใต้โลโก้นั้นซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกูเกิล แล็บส์ (Google Labs)
บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
- Map's for mobile
- Mobile
- SMS
- App Google Play Store
ระบบปฏิบัติการ
- แอนดรอยด์
- แอนดรอยด์ (Android) ระบบปฏิบัติการบนสมาร์ตโฟนที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
- กูเกิล โครมโอเอส
- โครม โอเอส (Chrome OS) ระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เน็ตบุ๊ก ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่ 2 ราย คือ ซัมซุงและเอเซอร์
- กูเกิลทีวี
- กูเกิลทีวี (Google TV) ระบบปฏิบัติการบนโทรทัศน์รุ่นใหม่ เช่น สมาร์ตทีวี แอลอีดีทีวี สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านทีวีได้
สำนักงาน
กูเกิลมีสำนักงานหลายสาขาทั่วโลก โดยในสหรัฐอเมริกามีมากกว่า 20 สาขา และที่อื่นทั่วโลกมากกว่า 40 แห่ง กูเกิลสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิวในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยสถานที่ตั้งของสาขาทั้งหมดดังนี้[19]
ความขัดแย้งในกฎและสิทธิ
การเติบโตของกูเกิลในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และการบริการ ก่อให้เกิดความขัดแย้งและการวิพากษ์วิจารณ์หลายครั้ง ตัวอย่างเช่นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหนังสือ จากการให้บริการค้นหาหนังสือผ่าน กูเกิล บุ๊กเสิร์ช ที่มีการนำข้อมูลจากหนังสือมาสแกนเพื่อให้ผู้ใช้งานค้นคว้าง่ายขึ้น[20] เช่นเดียวกับการค้นหาภาพผ่าน กูเกิล ค้นหารูปภาพ นอกจากนี้ยังมีการวิจารณ์ที่กูเกิลได้ทำการเซ็นเซอร์ข้อมูลในการค้นหาบางส่วน เช่นกูเกิลได้ยอมให้ในประเทศจีน ที่ทางรัฐบาลไม่ต้องการให้ผู้ใช้งานกูเกิลจีนค้นหาข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม กูเกิลได้ทำการเซ็นเซอร์ข้อมูลเกี่ยวกับ การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน และเช่นเดียวกันในการเซ็นเซอร์ของเยอรมนีและฝรั่งเศสเกี่ยวกับการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี
ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัวนั้นกูเกิลถูกวิจารณ์ว่าได้เก็บข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของคุกกี้ เป็นระยะเวลานานกว่าเว็บไซต์อื่น โดยทางกูเกิลเก็บข้อมูลไว้เป็นเวลา 18 เดือน ขณะที่ทางยาฮู!และเอโอแอลเก็บข้อมูลเป็นเวลา 13 เดือน[21] ทางด้านข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายผ่านดาวเทียม ที่แสดงผลผ่าน กูเกิล เอิร์ธ และกูเกิล แมปส์ ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหน่วยความมั่นคงของหลายประเทศ ในด้านความเป็นส่วนตัว และการล้วงความลับทางการเมือง รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถดูสถานที่สำคัญโดยไม่มีการเซ็นเซอร์ เช่น พระราชวัง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายในด้านการจารกรรมและปัญหาการก่อการร้ายได้โดยง่าย ถึงแม้ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะเปิดให้ดูได้มานานก่อนหน้าที่กูเกิลจะออกซอฟต์แวร์ก็ตาม
ในด้านการโฆษณาผ่านกูเกิล ได้มีการวิจารณ์ในระบบการโฆษณาที่ไม่มีประสิทธิภาพเต็มความสามารถ ซึ่งทางเจ้าของเว็บไซต์ที่ติดตั้งโฆษณาพยายามโกงโดยการกดโฆษณาเองเพื่อเพิ่มรายได้ให้ตนเอง ทำให้ผู้ลงโฆษณาต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นซึ่งมีรายงานว่า 14-20 เปอร์เซนต์ เป็นการกดโดยตั้งใจเพื่อทำรายได้ให้กับเจ้าของเว็บ[22] นอกจากนี้กูเกิลยังโดนกล่าวถึงในเรื่องของการกีดกันโอกาสของคนต่างเพศและคนสูงอายุจากอดีตพนักงานที่โดนเชิญให้ออก[23][24]
อ้างอิง
- ↑ เกี่ยวกับ Google (อังกฤษ)
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Google Inc. Alphabet Announces Third Quarter 2020 Results" (PDF). อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "financialtables" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อxbrlus_3
- ↑ "Google Inc. Alphabet Announces Third Quarter 2020 Results" (PDF). Google.
- ↑ "Google Announces Fourth Quarter And Fiscal Year 2007 Results". 31 มกราคม พ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2551.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "Google's Surge Would Make Casey Kasem Proud". Wall Street Journal. 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2551.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ Brin, Sergey; Page, Lawrence (1998). "The anatomy of a large-scale hypertextual Web search engine" (PDF). Computer Networks and ISDN Systems. 30 (1–7): 107–117. CiteSeerX 10.1.1.115.5930. doi:10.1016/S0169-7552(98)00110-X.
- ↑ Barroso, L.A.; Dean, J.; Holzle, U. (April 29, 2003). "Web search for a planet: the google cluster architecture". IEEE Micro. 23 (2): 22–28. doi:10.1109/mm.2003.1196112.
We believe that the best price/performance tradeoff for our applications comes from fashioning a reliable computing infrastructure from clusters of unreliable commodity PCs.
- ↑ "The Rise of Google". ยูเอสเอทูเดย์. 29 เมษายน พ.ศ. 2547. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "100 Best Companies to Work For 2007." นิตยสารฟอร์จูน 22 มกราคม พ.ศ. 2550 เรียกข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551
- ↑ กูเกิลประกาศปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ตั้งบริษัทแม่แห่งใหม่ ลดไซซ์กูเกิลเพื่อความคล่องตัว
- ↑ "กูเกิ้ล" ปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ | เดลินิวส์
- ↑ Google ปรับโฉมใหม่ - Official Google Thailand Blog
- ↑ Google's New Logo Is Its Biggest Update In 16 Years | Fast Company
- ↑ Our history in depth
- ↑ Earth Hour เก็บถาวร 2008-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน google.co.th
- ↑ Writely So จากบล็อกกูเกิล
- ↑ "Google+ ประกาศปิดตัวเร็วขึ้น 4 เดือน หลังพบบั๊กใหม่ที่เข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ 52.5 ล้านราย". techtalkthai.com. 22 มีนาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-22. สืบค้นเมื่อ 2019-03-22.
- ↑ ที่ตั้งทั้งหมดของสำนักงานกูเกิล
- ↑ "A New Chapter". The Economist. 30 ตุลาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 2008-11-07.
- ↑ Liedtke, Michael (11 ธันวาคม พ.ศ. 2550). "Ask.com will purge search info in hours". Journal Gazette. Fort Wayne Newspapers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-01. สืบค้นเมื่อ 2007-12-11.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Mills, Elinor. "Google to offer advertisers click fraud stats." c net. 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549. เรียกดู 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549.
- ↑ Kawamoto, Dawn. "Google hit with job discrimination lawsuit." c|net news.com. 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2548.
- ↑ "CTV.ca | Google accused of ageism in reinstated lawsuit". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2008-03-10.
แหล่งข้อมูลอื่น
หนังสืออ่านเพิ่ม
- เรื่องราวของกูเกิล, หนังสือแปลจาก The Google Story ของ เดวิด เอ. ไวส์ และ มาร์ก มัลซีด แปลโดย วิภาดา กิตติโกวิท. ISBN 974-9754-52-2