[go: up one dir, main page]

ดูเพิ่ม: หลื้อ

ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ʰlɔːᴮ¹; เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC lu, “เตา”); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຫຼໍ່ (หลํ่), ภาษาไทใหญ่ လေႃႇ (ล่อ̂), ภาษาอาหม 𑜎𑜦𑜡 (ลอ̂)

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์หฺล่อ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlɔ̀ɔ
ราชบัณฑิตยสภาlo
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lɔː˨˩/(สัมผัส)

คำกริยา

แก้ไข

หล่อ (คำอาการนาม การหล่อ)

  1. เทโลหะเหลวหรือขี้ผึ้งเหลวเป็นต้นลงในแม่พิมพ์แล้วทิ้งให้แข็งเป็นรูปตามแบบ (มักใช้ในงานประติมากรรมและอุตสาหกรรม)
    หล่อพระพุทธรูป
    หล่อกระทะ
    หล่อกระบอกปืนใหญ่
  2. ขังน้ำหรือน้ำมันไว้เพื่อรักษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้คงสภาพ
    เอาน้ำหล่อคอนกรีตไว้
    เอาน้ำมันจันทน์หล่อรักยม

คำคุณศัพท์

แก้ไข

หล่อ (คำอาการนาม ความหล่อ)

  1. (ภาษาปาก) งาม (ใช้กับผู้ชาย)
    รูปหล่อ