ดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์
ดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์ (D-Generation X) เป็นกลุ่มทีมมวยปล้ำอาชีพ ถือก่อตั้งเมื่อปี 1997[2] ชอว์น ไมเคิลส์ ได้ร่วมกับ ทริปเปิล เอช และ ไชนา ก่อตั้งกลุ่ม D-Generation X ขึ้น โดยตอนนั้น มีสมาชิกในกลุ่มเพียง 3 คนเท่านั้น[3][4][5][6]
D-Generation X | |
---|---|
ข้อมูล | |
สมาชิก | ดูด้านล่าง |
ฉายา | D-Generation X DX Degeneration X |
เปิดตัว | August 11, 1997 |
ช่วงที่ ปรากฏตัว | 1997–2000 2006–2007 2009–2010 2010 - (non-wrestling reunions) 2018[1] |
ประวัติ
แก้ปี 1997 เป็นยุคแรกเริ่มของ DX ซึ่งตอนนั้นมีสมาชิกเพียง 3 คน คือ ทริปเปิลเอช, ชอว์น ไมเคิลส์ และ ไชนา เป็นกลุ่มที่กร่างและแกร่งที่สุดในตอนนั้น ซึ่งเคยมีแนวร่วมเป็นถึงแชมป์โลก WBC อย่าง ไมค์ ไทสัน ในช่วงเวลานั้นกลุ่ม DX ได้เปิดศึกกับสตีฟ ออสติน ซึ่งเป็นดาวรุ่งมาแรงในขณะนั้น สงครามของพวกเขาได้จบลงในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 14 โดย DX เป็นฝ่ายปราชัยแก่ สตีฟ ออสติน
ปี 2006 ทริปเปิลเอชได้กลับมาร่วมมือกับชอว์น และได้กลายมาเป็นกลุ่มดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์ เปิดศึกกับตระกูลแม็กแมน (วินซ์ แม็กแมน และเชน แม็กแมน) ในอันฟอกิฟเวน (2006) ดี-เอ็กซ์ต้องเจอกับ วินซ์, เชน และบิ๊กโชว์ ในแมตช์ Hell in a Cell 3 รุม 2 สุดท้าย ดี-เอ็กซ์ ก็เอาชนะไปได้สำเร็จ ต่อมาไปเปิดศึกกับกลุ่ม Rated-RKO (เอดจ์ และ แรนดี ออร์ตัน) ซึ่งผลัดแพ้ผลัดชนะกันหลายรอบ จนจบด้วยการที่ทริปเปิลเอชเจ็บเข่าต้องพักไป 7 เดือน
ปี 2009 ทริปเปิลเอชได้จับคู่กับชอว์น ในนามกลุ่มดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์อีกครั้ง และได้เปิดศึกกับเดอะเลกาซี ในซัมเมอร์สแลม (2009) สามารถเอาชนะได้สำเร็จ ต่อมาก็สามารถคว้าแชมป์แทกทีมยูนิฟายด์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยเอาชนะเจริ-โชว์ (คริส เจริโค และบิ๊กโชว์) ในTLC Match ในทีแอลซี: เทเบิล แลดเดอร์ แอนด์ แชร์ (2009)
ปี 2010 ทริปเปิลเอชได้แยกกลุ่มกับชอว์นหลังจากทั้งคู่เสียแชมป์แทกทีมยูนิฟายด์ให้กับทีมโชมิซ (บิ๊กโชว์ และ เดอะมิซ) ในศึก อิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2010) ดิอันเดอร์เทเกอร์ จะต้องป้องกัน แชมป์โลกเฮฟวี่เวท ในแมตช์การปล้ำอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ ระหว่างการปล้ำเหลือ 2 คนสุดท้ายคือ อันเดอร์เทเกอร์และคริส เจริโค แล้วอันเดอร์เทเกอร์ถูกชอว์นมารอบทำร้ายด้วยท่า Sweet Chin Music ทำให้เสียแชมป์โลกเฮฟวี่เวทให้เจริโค
ในรอว์ อันเดอร์เทเกอร์ ปรากฏตัวอีกครั้ง และได้รับคำท้าจากชอว์น ว่าจะให้เจออีกครั้ง ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 โดยกติกานั้น หากว่า ชอว์น ไม่สามารถเอาชนะอันเดอร์เทเกอร์ได้ จะต้องรีไทร์ตนเองออกจากวงการมวยปล้ำไป ซึ่งก็เป็นอันว่า ชอว์น ก็จะได้ไปเจอกับอันเดอร์เทเกอร์ อีกครั้ง ในศึก เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 และครั้งนี้เป็นการเดิมพันระหว่าง สถิติไร้พ่าย ในศึก เรสเซิลเมเนีย ของ อันเดอร์เทเกอร์ กับ อาชีพมวยปล้ำของ ชอว์น ผลปรากฏว่า ชอว์นเป็นฝ่ายแพ้ไป ซึ่งทำให้สถิติของอันเดอร์เทเกอร์ เป็นสถิติ 18-0 และทำให้อาชีพมวยปล้ำของเขาจบลง ถือว่าเป็นการยุติอาชีพมวยปล้ำของ ชอว์น ไมเคิลส์ อย่างเป็นทางการ
ปี 2012 ดี-เจเนอเรชันเอ็กซ์ได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งในรอว์ 1000 โดยมี ทริปเปิล เอช กับ ชอว์น ไมเคิลส์ และตามด้วย โรด ด็อก, เอกซ์-แพ็ก และบิลลี กัน ขับรถจี๊ปทหารตามออกมา ดีเอกซ์เล่นตลกคาเฟ่กันอยู่นาน แดเมียน แซนดาวก็ออกมาขัดจังหวะ ชอว์นเลยจัดการใส่ Sweet Chin Music ต่อด้วย Pedigree ของทริปเปิลเอช[7]
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2018 ในศึก Crown Jewel ทริปเปิลเอช และ ชอว์น ไมเคิลส์ ได้กลับมารวมทีมเฉพาะกิจในนาม DX และเป็นการคืนสังเวียนครั้งแรกในรอบ 8 ปีของชอว์น โดยเอาชนะ เดอะบราเทอส์ออฟเดสตรักชัน (ดิอันเดอร์เทเกอร์ และ เคน) ไปได้
ปี 2019 DX ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าสู่ หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี
สมาชิก
แก้ในปีต่อมา ได้มีสมาชิกเพิ่มมากยิ่งขึ้น ได้แก่
- โรด ด็อก (Road Dogg)
- บิลลี กัน (Billy Gunn)
- ไชนา (Chyna)
- สเตฟานี แม็กแมน (Stephanie McMahon)
- ไมค์ ไทสัน (Mike Tyson)
จนถึงในปี 2009 เหลือสมาชิกในกลุ่มเพียง 2 คน คือ ชอว์น ไมเคิลส์ และทริปเปิลเอช และในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 ชอว์นได้ท้าศึก Streak vs Career กับดิอันเดอร์เทเกอร์ และพ่ายแพ้ไปทำให้ต้องลาจากวงการมวยปล้ำไป กลุ่ม DX จึงต้องยุติบทบาทลง
แชมป์และรางวัล
แก้- Pro Wrestling Illustrated
- Comeback of the Year (1998) – X-Pac
- Tag Team of the Year (1998)[8] – The New Age Outlaws
- World Wrestling Federation/World Wrestling Entertainment/WWE
- WWF Championship (4 times)[9] – Shawn Michaels (1),[4] Triple H (3)[10][11][12][13]
- WWF Intercontinental Championship (2 times)[14] – Triple H (1),[15] Road Dogg (1)[16]
- WWF European Championship (5 times)[17] – Shawn Michaels (1),[3] Triple H (2),[5][6] X-Pac (2)[18][19]
- WWF Hardcore Championship (2 times)[20] – Road Dogg (1),[20] Billy Gunn (1)[20]
- WWF/World Tag Team Championship (6 times)[21] – The New Age Outlaws (Road Dogg and Billy Gunn) (5),[22][23][24][25][26] Triple H and Shawn Michaels (1)[27]
- WWE Tag Team Championship (2 times) – Shawn Michaels and Triple H (1), The New Age Outlaws (Road Dogg and Billy Gunn) (1)[28]
- WWF Women's Championship (2 times) – Stephanie McMahon-Helmsley (1) Chyna (1)
- WWE Hall of Fame (Class of 2019) - Triple H, Michaels, Chyna, Gunn, Dogg and X-Pac[29]
- Wrestling Observer Newsletter
- Worst Feud of the Year (2006) vs. Vince and Shane McMahon
อ้างอิง
แก้- ↑ https://bleacherreport.com/articles/2803021-shawn-michaels-and-triple-h-defeat-the-undertaker-and-kane-at-wwe-crown-jewel
- ↑ "D-Generation X (1st Incarnation) Profile". Online World of Wrestling. สืบค้นเมื่อ 2008-01-18.
- ↑ 3.0 3.1 "Shawn Michaels' first European Championship reign". WWE. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-24. สืบค้นเมื่อ 2008-01-19.
- ↑ 4.0 4.1 "Shawn Michaels' third WWE Championship reign". WWE. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-05. สืบค้นเมื่อ 2008-01-19.
- ↑ 5.0 5.1 "Triple H's first European Championship reign". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ 6.0 6.1 "Triple H's second European Championship reign". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 7/23: Complete "virtual-time" coverage of live Raw #999 - WWE recognizes 1,000 episodes, WWE Title match, Lesnar, Rock, DX, wedding". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 28 July 2012.
- ↑ "Pro Wrestling Illustrated Award Winners - Tag Team of the Year". Wrestling Information Archive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-15. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
- ↑ "WWE Championship history". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "Triple H's first WWE Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-01. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "Triple H's second WWE Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "Triple H's third WWE Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-07-18. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "Triple H's fourth WWE Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-02. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "WWE Intercontinental Championship history".
- ↑ "Triple H's second Intercontinental Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-29. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "Road Dogg's first Intercontinental Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-30. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "WWE European Championship history". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "X-Pac's first European Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-12. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "X-Pac's second European Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-12. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 "WWE Hardcore Championship history". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "World Tag Team Championship history". WWE. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "The New Age Outlaws' first World Tag Team Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "The New Age Outlaws' second World Tag Team Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "The New Age Outlaws' third World Tag Team Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-26. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "The New Age Outlaws' fourth World Tag Team Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-23. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "The New Age Outlaws' fifth World Tag Team Championship reign". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2008-01-20.
- ↑ "Triple H and Shawn Michaels' first World Tag Team Championship reign". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-17. สืบค้นเมื่อ 2009-12-13.
- ↑ "Title History: WWE Tag Team: D-Generation X". WWE.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-17. สืบค้นเมื่อ December 14, 2007.
- ↑ https://www.solowrestling.com/new/78555-dgeneration-x-primer-nominado-al-wwe-hall-of-fame-2019